เลือกทานโพรไบโอติกส์อย่างไรดี ?

Must Try

rungsiyas
วิชาชีพที่พี่เมย์กำลังทำอยู่จนเชี่ยวชาญคือ ความลึกลับของสุขอนามัยน้องสาวหรือจุดซ่อนเร้น ไม่น่าเชื่อว่าพี่เมย์รับเคสจากผู้หญิงที่มีปัญหาน้องสาวมากกว่า 3 แสนเคส จากประสบการณ์นี้ พี่เมย์จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวที่ได้รับจากเคสต่างๆ เป็นวิทยาทานแก่ผู้หญิงทุกคนค่ะ

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีต่อร่างกายที่ว่ากันว่ามีอยู่ติดตัวกับเรามาตั้งแต่เกิด อีกทั้งยังอาศัยอยู่ในบริเวณระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ไปจนถึงอาศัยบริเวณช่องคลอดได้ และทำงานสลับสนุนระบบภายในร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี

แต่ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของอายุที่มากขึ้นหรือพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยทำให้จำนวนโปรไบโอติกส์ที่มีอยู่เดิมในร่างกายลดจำนวนลง (เช่น ลักษณะอาหารที่ทาน การไม่กินผักผลไม้หรืออาหารที่มีกากใยที่เป็นแหล่งของพรีไบโอติก ซึ่งเป็นอาหารที่ช่วยหล่อเลี้ยงโปรไบโอติกได้อย่างดี การทานอาหารไม่ตรงเวลา การนอนหลับไม่เพียงพอ การออกกำลังกาย หรือความเครียด) ทำให้เราต้องกลับมาหา “แหล่งโพรไบโอติก” เพื่อฟื้นสมดุลให้ภายในร่างกายของเรา ด้วยคำถามสำคัญคือ ทานโพรไบโอติกจากไหนดี?

ทานอาหารที่เป็นแหล่งของโพรไบโอติก VS  ทานโพรไบโอติกในอาหารเสริม

อาหารที่เป็นแหล่งขอโพรไบโอติกนั้น ได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการหมักหรือดองที่หลายๆชื่อเราก็คุ้นเคยและบางคนอาจจะเปรี้ยวปากอยากทานขึ้นมาได้ทันทีเมื่เอ่ยถึง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต คีเฟอร์(Kefir) กิมจิ มิโสะ นัตโตะ ขิงดอง หรือชาหมักอย่างคอมบูชา (kombucha)

ไม่ใช่ทุกคนที่จะประทับใจกับกลิ่นหรือรสชาติของของหมักดองเหล่านี้ หรือแม้แต่บางคนที่ไม่สามารถทานผลิตภัณฑ์จากนมวัวได้ เช่น คนที่แพ้ คนที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโตสบกพร่อง(lactose intolerance) หรือคนที่ทานเจ ทานมังสวิรัต รวมถึงคนที่ชอบทาน junk food บ่อยๆ ไม่ได้ทานอาหารที่เป็นแหล่งของโพรไบโอติกโดยตรงมากนัก ดังนั้น โพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวก ทานง่าย และได้ปริมาณของโพรไบโอติกส์เต็มๆ

โพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม เลือกทานอย่างไร ?

ราคาเท่าไร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน มีโพรไบโอติกกี่สายพันธุ์ ผสมพรีไบโอติกไหม มีน้ำตาลไหม มีนมไหม ช่วยอะไรได้บ้าง เหล่านี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ซื้อสงสัย และมันดีแล้วถ้าคุณเป็นหนึ่งในผู้ซื้อที่ถามคำถามเหล่านี้ก่อนตัดสินใจ

ต้องการตัวช่วยเรื่องอะไร & สายพันธุ์ในผลิตภัณฑ์นั้นช่วยได้หรือไม่

สิ่งแรกที่แนะนำว่าต้องตอบให้ได้ก่อน คือเรื่องของเป้าหมายในการทานของตัวคุณเอง จากนั้นจึงค่อยมองหาว่า สายพันธุ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นช่วยเรื่องที่คุณต้องการได้หรือเปล่า เพราะแม้ว่าจะมีสายพันธุ์มากมาย แต่ข้อเสียของการมีจำนวนหลายสายพันธุ์มากเกินไป เช่น 10-20 สายพันธุ์นั้นก็อาจจจะทำให้โพรไบโอติกแต่ละชนิดนั้นเกิดการแย่งยึดเกาะพื้นที่กันเอง จนไม่สามารถยึดเกาะเยื่อบุอวัยวะภายในเพื่อเติบโตทำงานและเพิ่มจำนวนให้กับร่างกายเราได้อย่างที่คิดมากนัก

ราคาและปริมาณ

ปริมาณที่คุณควรสังเกตนั้น ไม่ใช่แค่เพียงปริมาณของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด แต่เป็นปริมาณของจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่มีเช่น ใน 1 กรัม มีจุลินทรีย์ที่ช่วยเรื่องที่คุณอยากดูแลอยู่กี่กรัม ?

จุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์ต่างกันอย่างไร (ข้อมูลจาก 2 ดร.ภญ.พัทธ์ธีรา โสดาตา, คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/20181002_4.pdf )

แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus)

แลคโตบาซิลลัสเป็นแบคที่เรียที่สามารถพบได้ในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด เป็นโพรไบโอติกที่พบมากในอาหารและนม เช่น โยเกิร์ต และยังสามารถสร้างไบโอฟิล์มซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น สภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร (ซึ่งหมายความว่าเมื่อเราทานเข้าไปแล้วจุลินทรีย์ชนิดนี้มีโอกาสรอดชีวิต เดินทางไปถึงยังตำแหน่งเยื่อบุต่างๆ เพื่อช่วยทำงานปรับสมดุลและเพิ่มจำนวนในร่างกายเราต่อไปได้นั่นเอง)

ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)

ปกติแล้วไบฟิโดแบคทีเรียมจะอาศัยอยู่ในช่องปาก ลําไส้และช่องคลอด มีประโยชน์ในการช่วยย่อยอาหาร ช่วยผลิตกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acids) และช่วยลดการอักเสบ จากงานวิจัยมีแนวโน้มว่า B. bifidum จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสียจากการท่องเที่ยว อาการลําไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) และอาการลําไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล (ulcerative colitis) โพรไบโอติกชนิดนี้สามารถพบได้ในโยเกิร์ต มิโซะ ผักดอง กิมจิ ไวน์บางชนิด กะหล่ำปลีดอง และขนมปังเปรี้ยว

ที่มา
1 Scattergood, G. (2017). ‘Multi-strain versus single strain probiotics: More doesn’t necessarily mean better outcomes’. Published online at: https://www.nutraingredients.com/Article/2017/10/19/Multi-strain-versus-single-strain-probiotics-More-doesn-t-necessarily-mean-better-outcomes

2 https://www.dutchmilldelivery.com

3 https://www.winonafeminine.com 

4 https://www.interpharma.co.th 

5 https://www.vitagenethailand.com

6 https://probalancethailand.com

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

More Recipes Like This

- Advertisement -
Exit mobile version