Probiotics VS Prebiotics ( โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร? )
Probiotics เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดี ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อมีจุลินทรีย์อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม บางครั้งเรียกว่า “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต” ช่วยผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ ดังนั้น “โพรไบโอติกส์” จึงช่วยทำให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกาย ซึ่งทางอย.ได้ให้คำนิยามของ “โพรไบโอติกส์” ไว้ดังนี้

“จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ”
จากคำนิยามนี้ จะมี 3 สิ่งที่เกี่ยวข้อง คือ
1. จะต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เราต้องดูชนิดของจุลินทรีย์นั้นว่าเป็นชนิดไหนบ้าง
2. จะมีปริมาณที่เพียงพอ หรือพอเหมาะ ซึ่งทางอย.บ้านเราได้กำหนดไว้ที่ 1000 ล้านตัว หรือ 106 ซึ่งจะเป็นปริมาณที่ใช้แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้ามากเกินไปก็จะไม่ดีนัก เพราะจะไปแย่งพื้นที่ยึดเกาะกันจนทำให้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ให้ยึดเกาะ
3. จุลินทรีย์นั้นๆต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของ “จุลินทรีย์ดี” ก็คือ จะต้องทนต่อกรดและด่างในกระเพาะได้ดี ทนต่อน้ำดีในกระเพาะได้ สามารถยึดเกาะลำไส้ได้ดีกว่าแบคทีเรียตัวไม่ดี และจะมีบางสายพันธุ์ คือในส่วนของโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทยที่สามารถทนต่อความร้อนได้ดีอีกด้วย
ชนิดของ Probiotics ที่ใช้ในทางการแพทย์
1. Lactobacillus spp. – L. reuteri, L. Casei, L. Acidophilus, L. Bulgaricus, L.brevis, L. Rhamnosus เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะเพศ มีมากกว่า 50 สายพันธุ์ การศึกษาพบว่าแลคโตบาซิลลัสบางสายพันธุ์สามารถบรรเทาหรือป้องกันปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับลำไส้ นอกจากนี้ แลคโตบาซิลลัสอาจส่งผลดีต่อปัญหาสุขภาพด้านอื่น เช่น การติดเชื้อรา ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือความผิดปกติทางผิวหนังอื่น ๆ อย่างเริมริมฝีปาก ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือแผลร้อนใน
2. Saccharomyces boulardii เป็นโพรไบโอติกชนิดเดียวที่จัดอยู่ในกลุ่มยีสต์ การศึกษาบางส่วนพบว่าเชื้อนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคท้องเสียจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ โรคท้องเสียจากการท่องเที่ยว (Traveler’s Diarrhea) การติดเชื้อซ้ำจากคลอสตริเดียมดิฟฟิไซล (C. Difficile) การติดเชื้อเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) และอาจส่งผลดีต่อการรักษาสิวด้วย
3. Enterogermina – Bacillus clausii, Bacillus subtilis เป็นจุลินทรีย์ที่นิยมใช้มากในกลุ่มโพรไบโอติกส์ที่ใช้ในสัตว์
4. Bifidobacterium spp. – B. Bifidum, B. Longum, B. Breve, B.infantis เป็นจุลินทรีย์ที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน
5. Streptococcus thermophiles เป็นจุลินทรีย์ที่มีส่วนในการสร้างเอนไซม์แล็กเทส (Lactase Enzyme) ที่ช่วยในการย่อยน้ำตาลแล็กโทสในน้ำนมสำหรับผู้ที่มีภาวะไม่ทนทานต่อน้ำตาลแล็กโทส (Lactose Intolerance) ซึ่งภาวะนี้มักทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง และท้องอืด
- โพรไบโอติกส์มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?
จากการศึกษาพบว่าโพรไบโอติกส์มีประโยชน์ในการรักษาหรือช่วยบรรเทาความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น
โรคระบบทางเดินอาหาร | อาการลำไส้แปรปรวน, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ, ท้องร่วงอันเกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน, ภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตส |
โรคภูมิแพ้ | ผื่นแพ้ผิวหนัง, ภูมิแพ้อากาศ |
โรคทางอวัยวะสืบพันธุ์ | ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด, ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน |
โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ | ภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ |
ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์หลากหลายมากขึ้น โดยมีการปรับสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมและเสริมฤทธิ์กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโพรไบโอติกส์ โดยประเภทและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์ที่ต่างกันล้วนมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
บทบาทของโพรไบโอติกส์
- สร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค หรือ “เชื้อฉวยโอกาส”
- กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลายชนิด
- ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
- เหนี่ยวนำ และกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน
Prebiotics เป็นอาหารของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เป็นสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่จะสามารถถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของโพรไอโอติกส์ โดยพรีไบโอติกส์นี้ สามารถพบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
” กล่าวง่าย ๆ คือ พรีไบโอติกส์เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกส์เยอะ ก็จะช่วยให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เมื่อจุลินทรีย์ดีทำงาน (กำจัดจุลินทรีย์ก่อโรค) ได้ดี ร่างกายก็จะเกิดสุขภาวะที่ดี จึงช่วยสร้างสมดุลระบบร่างกายได้ดีเยี่ยม “
นอกจากการรับประทานโพรไบโอติกส์แล้ว เราควรรับประทานพรีไบโอติก (Prebiotics) ที่เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ควบคู่กันไปด้วย โดยพรีไบโอติกส์จัดเป็นใยอาหาร (Fiber) ประเภทหนึ่งที่พบมากในผักและผลไม้ หากเรารับประทานอาหารที่มีทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ร่วมกันเป็นประจำก็อาจช่วยให้ลำไส้เกิดความสมดุล ทำงานได้ดีขึ้น และลดปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ได้มากขึ้นด้วย
ในปัจจุบันจึงมีการผลิตซินไบโอติก (Synbiotics) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบไปด้วยโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์รวมไว้ด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารทั้งสองประเภท แต่อาจไม่มีเวลาในการรับประทาน ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกส์ก็อาจช่วยให้ร่างกายได้ประโยชน์ อีกทั้งยังสะดวกและประหยัดเวลาอีกด้วย แต่ผู้ซื้อก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้เพื่อความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้โพรไบโอติกในอาหารและเครื่องดื่ม
สิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องคำนึงถึง คือ ความจำเพาะของสายพันธุ์นั้น ๆ ในอาหารนั้น ๆ และเครื่องดื่มนั้น ๆ เพราะว่า การใช้โพรไบโอติกต้องคำนึงถึงว่า เมื่อใช้แล้วทำให้คุณภาพของอาหารดีขึ้น รสชาติ หรือว่ากลิ่นดีขึ้นหรือไม่ ในขณะเดียวกันโพรไบโอติกอันนั้นมี function ที่เฉพาะที่เราอยากจะส่งมอบกับผู้บริโภคในเรื่องใดบ้าง หรือว่าผู้บริโภคเองก็สามารถที่จะเลือกใช้อาหารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของตนเอง และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การคงตัว หรือการอยู่รอดของอาหารนั้น
Dairy-based probiotic products
- ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกจากนม
อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ จะเห็นว่า ในประเทศเราจะมีทั้งส่วนที่เป็นโยเกิร์ต และนมเปรี้ยวที่มีองค์ประกอบของโพรไบโอติกอยู่ในนั้นด้วย แต่ในบางผลิตภัณฑ์ก็จะมี starter cultures เท่านั้นเองที่ใส่เข้าไป เพื่อจะใช้ในการหมักนม ผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์เป็น starter จะมี Lactobacillus และ Streptococcus ซึ่ง Streptococcus บางชนิดมีความสามารถเป็นโพรไบโอติกได้ด้วย
- หมักนมด้วยหัวเชื้อยีนส์ และแบคทีเรีย
นมหมัก ซึ่งตอนนี้เป็นที่นิยมในประเทศไทย Kefir ก็จะเป็นอาหารหมัก เป็นนมอย่างหนึ่งแล้วเอามาหมักด้วยหัวเชื้อยีสต์ และแบคทีเรีย จะเป็นที่นิยมในกลุ่มที่รักสุขภาพ หรือต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ
- อาหารหมัก (Fermented Foods)
ในแม้แต่ Tempe หรืออาหารหมักอื่น ๆ จะมีในกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในกลุ่มของยีสต์ และจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งในการประยุกต์ใช้เราสามารถที่จะเติมโพรไบโอติกเหล่านี้เข้าไปได้
- Probiotic Gummy and Cereal & Crunchy Bar
ส่วนของ Gummy หรือ Cereal ในเมืองไทยก็เริ่มมีมาจำหน่ายเยอะมากขึ้น
- Kombucha : ชาหมัก
เป็นชาที่หมักด้วยหัวเชื้อยีสต์ และแบคทีเรียกรดแลคติก ซึ่งหมักออกมาจะมีสารที่หลั่งออกมาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ สามารถบริโภคเพื่อสุขภาพได้
Functional Beverages
Probiotics Drink : Juice, Smootie and sparking probiotics
นอกจากนี้ มีการนำเอาจุลินทรีย์กลุ่มนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับน้ำผลไม้ หรือว่าเครื่องดื่มอื่น ๆ
Food Supplements : Tablet, Capsule
ผลิตภัณฑ์สุขภาพในรูปของซองหรือเม็ดแคปซูลใน Product ชนิดต่าง ๆ ซึ่งผู้บริโภคก็สามารถเลือกดูได้ตามจุดประสงค์ของตนเอง