การใช้โพรไบโอติกในอาหารและเครื่องดื่ม

Must Try

rungsiyas
วิชาชีพที่พี่เมย์กำลังทำอยู่จนเชี่ยวชาญคือ ความลึกลับของสุขอนามัยน้องสาวหรือจุดซ่อนเร้น ไม่น่าเชื่อว่าพี่เมย์รับเคสจากผู้หญิงที่มีปัญหาน้องสาวมากกว่า 3 แสนเคส จากประสบการณ์นี้ พี่เมย์จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวที่ได้รับจากเคสต่างๆ เป็นวิทยาทานแก่ผู้หญิงทุกคนค่ะ

การใช้โพรไบโอติกในอาหารและเครื่องดื่ม

โพรไบโอติก (Probiotic) คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีมีจำนวนลดลง หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น  โพรไบโอติก นอกจากจะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้นแล้ว โพรไบโอติกยังช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ลดความเครียด และช่วยลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย

การใช้โพรไบโอติกในอาหาร 

“จุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotic)” หมายความว่า จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะทําให้เกิดผลที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 

ซึ่งไม่รวมจุลินทรีย์ดังต่อไปนี้

  1. จุลินทรีย์ที่ใช้เป็นสารชีวบําบัด (biotherapeutic agents)
  2. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (beneficial microorganisms) ที่ไม่ใช้ในอาหาร 
  3. จุลินทรีย์ที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Microorganism, GMM) 
  4. จุลินทรีย์ บักเตรี แบคทีเรีย หรือยีสต์ อย่างเช่น อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก   

การใช้โพรไบโอติกในอาหาร ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. กําหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร ดังนี้

  1. ชนิดของจุลินทรีย์โพรไบโอติก   ปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ คงเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านตัวต่ออาหาร 1 กรัม ตลอดอายุการเก็บ รักษาของอาหาร โดยผู้ขออนุญาตต้องแนบหลักฐานผลการวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติก ให้ผู้อนุญาตประกอบการ ขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ
  2. ผลการตรวจวิเคราะห์ชนิดของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ต้องเป็นของส่วนงานราชการหรือสถาบันที่ตรวจวิเคราะห์อาหาร ดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ หน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับมอบหมายหรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในประเทศนั้นๆ  หน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล
  3. การกล่าวสรรพคุณทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้โพรไบโอติกในอาหาร ต้องยื่นขอประเมินตามคู่มือประชาชนเกี่ยวกับการขอประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ

อาหารที่มีโพรไบโอติก

ตัวอย่างเช่น กิมจิ มิโสะ ผักกาดดอง ข้าวหมาก 

การใช้โพรไบโอติกในเครื่องดื่ม

เครื่องดื่มโพรไบโอติก เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตจากกระบวนการหมักโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตได้จากวัตถุดิบหลายชนิด ซึ่งจําแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เครื่องดื่มโพรไบโอติกที่ผลิตโดยใช้น้ำนม และไม่ใช้น้ำนมเป็นวัตถุดิบ ปัจจุบันเครื่องดื่มโพรไบโอติกที่ไม่ใช่น้ำนมเป็นวัตถุดิบ เช่น เครื่องดื่ม โพรไบโอติกจากพืช เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค เนื่องจากมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ได้รับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีอยู่ในวัตถุดิบ ได้รับประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นสตาร์ทเตอร์และมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ตามชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ผัก ผลไม่ ธัญพืช

โพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งใช้เติมหรือเสริมเข้าไปในระหว่างกระบวนการผลิตอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ นมหมัก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ในการผลิตอาหารหมักที่รู้จักกันดีคือ แบคทีเรียกรดแลคติก (lactic acid bacteria (LAB) แบคทีเรียกลุ่มนี้จะสร้างกรดแลคติกและปล่อยลงในส่วนผสมของอาหาร ทําให้อาหารหมัก มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น มีรสเปรี้ยว มีลักษณะของเนื้อสัมผัสเปลี่ยนจากเดิมและมีความเฉพาะด้าน ทําให้ค่าPH ของอาหารมีความเป็นกรด ทําให้จุลินทรีย์ที่ก่อโรคไม่สามารถเจริญได้ อาหารที่ผ่านการหมักจึงเก็บได้นาน

อาหารและเครื่องดื่มโพรไบโอติก เช่น นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม และเรียกกลุ่มของแบคทีเรีย กรดแลคติกที่นํามาใช้ในการผลิตว่า แบคทีเรียกรดแลคติกที่เป็นโพรไบโอติก (lactic acid probiotic bacteria) และเรียก เครื่องดื่มที่ผลิตโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติกในกระบวนการหมักเรียกว่า เครื่องดื่มโพรไบโอติก (probiotic beverages หรือ probiotic drinks) ซึ่งมี 2 กลุ่มดังนี้ เครื่องดื่มที่ได้จากนม และเครื่องดื่มที่ไม่ได้จากนม 

  1. ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโพรไบโอติกที่ได้จากนม  เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ใช้นมเป็นวัตถุดิบในการหมัก เช่น นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต โดยการนําน้ำนมจากสัตว์ เช่น น้ำนมโค กระบือ แพะ ในลักษณะของนมสด และนมพร่องมันเนย ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนมาเติมด้วยหัวเชื้อแลกโตบาซิลลัส หรือเชื้อแบคทีเรียกรดแลกติกสายพันธุ์อื่น ๆ แบคทีเรียจะสร้างเอนไซม์มาย่อยน้ำตาลในนม มีการสร้างกรดออกมา ทําให้สภาวะของน้ำนมเป็นกรด เปลี่ยนสภาพเป็นตะกอนนม มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นเฉพาะของนมหมัก
  2. ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโพรไบโอติกที่ไม่ได้จากนม เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ไม่ได้ใช้นมเป็นวัตถุดิบในการหมัก เช่น ใช้น้ำผัก ผลไม้ น้ำจากธัญพืชชนิดต่างๆ เป็นวัตถุดิบในการหมักจะใช้พืชชนิดเดียวหรือใช้หลายชนิดร่วมกัน และใช้น้ำตาลซูโครสเป็นส่วนผสม จากนั้นนํามาผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่เหมาะสมแล้วเติมด้วยหัวเชื้อแลกโตบาซิลลัส เมื่อหมักได้ที่แล้วจะมีรสเปรี้ยว เนื้อสัมผัสเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย มีสีตามธรรมชาติของวัตถุดิบ และมีกลิ่นเฉพาะตัว

จุลินทรีย์โพรไบโอติก ที่มีจําหน่ายในปัจจุบันมักพบได้ในรูปผลิตภัณฑ์แบบผง หรือแบบแคปซูล ซึ่งมีทั้งผลิตภัณฑ์แบบแห้ง อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆในท้องตลาด และแบบสด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ชีส ซึ่งจะเรียกอาหารกลุ่มนี้ว่า อาหารโพรไบโอติก และ เครื่องดื่มโพรไบโอติก เป็นต้น

ที่มา

  • วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2561
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใชจุ้ลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร
  • ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร

อาหารที่มีโพรไบโอติก Dairy-based probiotic products

Super Healthy Probiotic Fermented Food Sources, drinks, ingredients, on dark concrete background copy space top view

อาหารที่เกี่ยวข้องกับนมเป็นส่วนประกอบก็จะเห็นว่าในประเทศเรามีโยเกิร์ต นมเปรี้ยวที่มีองค์ประกอบจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ อยู่ในนั้นด้วยแต่ว่าในบางผลิตภัณฑ์มีแค่ Starter Cultures เท่านั้นเองที่จะใส่เข้าไปเพื่อใช้ในการหมักจุลินทรีย์ทำหน้าที่เป็นStarter Cultures ก็คือ แลกโตบาซิลัส ซึ่ง แลกโตบาซิลัสบางชนิดก็มีความสามารถในการกินโพรไบโอติกส์ได้ด้วย

อาหารที่มีโพรไบโอติกส์สูงอย่างแรกๆ ที่เราจะนึกถึงนั่นก็คือโยเกิร์ต โดยโยเกิร์ตนั้นเกิดจากการนำนมไปหมัก ทำให้เกิดจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ขึ้นมาและมีในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานได้ดี เพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายของเราทำงานได้ดี

Kefir หมักนมด้วยหัวเชื้อยีสต์และแบคทีเรีย

เป็นอาหารหมักเป็นการนำเอานมคุณภาพดีหมักด้วยหัวเชื้อยีสต์และแบคทีเรียเป็นที่นิยมของกลุ่มที่รักหรือว่าต้องการอาหารเพื่อสุขภาพหรือใช้ในการลดน้ำหนักที่มีผลดีต่อร่างกาย

อาหารหมัก (Fermented Foods)

อาหารหมักอื่นๆเช่น ข้าวหมาก กิมจิ เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เป็นกลุ่มของยีสต์และจุลินทรีย์อื่นๆที่นอกเหนือจากแลกโตบาซิลัส การประยุกต์ใช้เราสามารถเติมโพรไบโอติกส์พวกนี้เข้าไปได้

กิมจิ ถือเป็นผักดองชนิดหนึ่ง ชาวเกาหลีนิยมกินคู่กับเนื้อย่างหมูย่าง หรือแม้แต่จะกินคู่กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ได้ โดยกิมจิจัดเป็นอาหารประจำโต๊ะที่ขาดไม่ได้เลย ซึ่งการกินกิมจินี้ก็จะช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดอาการท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงยังเป็นอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

เทมเป้ ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่กินมังสวิรัติ วีแกนและผู้ที่ต้องการโปรตีนเพิ่มเติม เทมเป้มีโปรตีนสูงเพราะทำมาจากถั่ว นอกจากนี้ยังมีสารเลซิทินที่สามารถช่วยสลายไขมัน ป้องกันไม่ให้ไขมันเกาะในเส้นเลือด มีวิตามินบี12 ป้องกันไม่ให้เลือดจาง มีไฟเบอร์สูงและยังมีโพรไบโอติกส์สูง

Probiotic gummy & Cereal & Crunchy Bar

หรือถ้ามีค่าของผลิตภัณฑ์อื่นๆในเมืองไทยก็จะมีมาจำหน่าย ส่วนต่างประเทศมีการจำหน่ายเยอะแล้ว ในรูปแบบ gummy หรือในรูปแบบของ Cereal หรือเป็นแบบ Crunchy Bar 

ช่วยป้องกันภาวะลำไส้อักเสบ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้อักเสบจากการที่ได้รับยาปฏิชีวนะ แม้กระทั่งภาวะท้องผูกเรื้อรังก็พบว่าการใช้ โพรไบโอติกส์มีส่วนทำให้ภาวะต่างๆนี้ดีขึ้น

มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ในภาวะโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรค ภูมิแพ้ของผิวหนัง  ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อราในระบบทางเดินปัสสาวะ  ระบบประสาทและภาวะทางจิตเวช  โรคโคลิคในเด็ก  โรคตับ เช่น ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ภาวะอ้วน

Blood orange lemonade in a glass with drops and ice cubes, functional water, summer beverage on a white background, close up.

นอกจากนี้ยังมีสารนำจุลินทรีย์เหล่านี้ไปพัฒนาร่วมกับน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Smoothies พวก Sparkling ในต่างประเทศมีมานานแล้วเช่นเดียวกัน

Food Supplements: Powers , Tablet , Capsule 

มีในรูปแบบของ ซอง,ผง,เม็ด,แคปซูล ในProducts ชนิดต่างๆผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเองได้ในภาคเอกชนสามารถคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อไปพัฒนาผลิตภัณฑ์นำสู่ตลาดเพื่อส่งมอบต่อผู้บริโภคได้

Concept of sports or fitness nutrition, close up

- Advertisement -spot_img

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisement -spot_img

Latest Recipes

- Advertisement -spot_img

More Recipes Like This

- Advertisement -spot_img