กลไกการทำงานของโพรไบโอติก กับการลดคลอเรสเตอรอล

Must Try

rungsiyas
วิชาชีพที่พี่เมย์กำลังทำอยู่จนเชี่ยวชาญคือ ความลึกลับของสุขอนามัยน้องสาวหรือจุดซ่อนเร้น ไม่น่าเชื่อว่าพี่เมย์รับเคสจากผู้หญิงที่มีปัญหาน้องสาวมากกว่า 3 แสนเคส จากประสบการณ์นี้ พี่เมย์จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวที่ได้รับจากเคสต่างๆ เป็นวิทยาทานแก่ผู้หญิงทุกคนค่ะ
  • “โพรไบโอติก” สามารถลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้จริงหรือ?
  • คอเลสเตอรอลในร่างกายเยอะ ทั้ง ๆ ที่เลือกทานอาหาร ลดอย่างไรดี?
  • แค่ทาน “โพรไบโอติก” สามารถทำให้ร่างกายสุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร

 กลไกการทำงานของโพรไบโอติก กับ การลดคลอเรสเตอรอล

คอเลสเตอรอล คืออะไร

คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมน และวิตามินซีบางชนิด รวมไปถึงการสังเคราะห์ของน้ำดีในตับอีกด้วย เราสามารถพบคอเลสเตอรอลได้ในอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวัน อย่างเนื้อสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง คลอเลสเตอรอล สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. คอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) เป็นคลอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ นิยมเรียกว่า “ไขมันชนิดดี” ทำหน้าที่ในการขนส่งคลอเลสเตอรอลจากกระแสเลือด และอวัยวะต่าง ๆ กลับไปสู่ตับ เสมือนเป็นเกาะป้องกัน LDL หรือคอลเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกจากร่างกาย สามารถลดปริมาณครอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลงได้ 

2.  คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) เป็นคลอเรสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นิยมเรียกว่า “ไขมันชนิดไม่ดี” มีหน้าที่หลักในการขนส่งคอเลสเตอรอลและสาร ประเภทไขมันอื่นๆไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกาย ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเกาะตามผนังของหลอดเลือดแดง สามารถทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ อย่างโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (peripheral arterial disease), โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นต้น เนื่องจากการมีครอเลสตรอรอลที่เป็น LDL ในกระแสเลือดสูง

นอกจากคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL)  และคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) แล้ว ยังมีอีกไขมันหนึ่งที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)” หรือ “ไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol)” เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ และมีการได้รับจากการรับประทานอาการที่มีไขมันสูง เช่น เนย น้ำมัน หมูสามชั้น เป็นต้น หากได้รับไขมันที่มากเกินไป สารอาหารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์จนกลายเป็นพลังงานสำรองในร่างกาย ซึ่งการมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) และคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ในปริมาณมากยังสัมพันธ์กับการมีไตรกลีเอไรด์สูง สามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการมีระดับคลอเรสเตอรอลทั้งหมดในร่างกาย (total cholesterol หรือ TC) เป็นผลรวมมาจากปริมาณของ LDL, HDL และไตรกลีเซอไรด์ และหากค่าของ LDL สูง นั่นคือ คุณมีคอเลสเตอรอลรวมสูงนั่นเอง

การมีค่า “ไตรกลีเซอไรด์สูง” ต้องปริมาณเท่าไหร่ ระดับไขมันในเลือด (mg/dL)

  • น้อยกว่า 150 = ปกติ
  • 150-199 = ค่อนข้างสูง
  • 200-499 = สูง
  • มากกว่า 500 = สูงมาก

**ผลตรวจเลือดหลังจากที่งดการรับประทานอาหาร 8-12 ชั่วโมง**

โดยปกติแล้วไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) จะถูกขจัดออกจากเลือดหลังจากที่เรารับประทานอาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าหากตรวจเลือดหลังจากที่งดรับประทานอาหาร 8-12 ชั่วโมง (ยกเว้นน้ำเปล่า) แล้วพบว่า ค่าไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) มากกว่า 200 mg/dL นั่นหมายความว่า ร่างกายของคุณกำลังมีปัญหา ด้านการขจัดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ซึ่งระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์จะอยู่ที่ 50-150 mg/dL เท่านั้นเอง

การลดครอเลสเตอรอลด้วยโพรไบโอติก (Cholesterol-lowering by probiotics)

โพรไบโอติกบางสายพันธุ์สามารถที่จะสร้างเอนไซม์บางอย่างออกมา เช่น Bile Salt Hydrolase (BSH) ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้จะคอย Deconjugate Bile Salt ทำให้ถูกขับออกนอกร่างกาย ร่างกายจึงดึงคอเลสเตอรอลมาใช้มากขึ้น สามารถช่วยในการลดคอเลสเตอรอลได้อีกทางหนึ่ง และอีกทางหนึ่งคือ โพรไบโอติกเองสามารถดักจับคอเลสเตอรอลเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง และบางส่วนดักจับแล้วก็ถูกขับออกไป

การทดลองการทำงานในแบบทดสัตว์ : กลุ่มอาการ Metabolic Syndrome

เมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) คือ ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกายที่ผิดปกติ เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันสูง ซึ่งภาวะเหล่านี้จะนำไปสู่ความเสี่ยงที่เป็นปัญหาอย่างร้ายแรง อย่างปัญหาต่อหลอดเลือดและหัวใจ หัวใจขาดเลือด การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น

จากการทดลองทีมจัยของ รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ หัวหน้าศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก คณะแพทศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการวิจัยในหนูทดลองที่ให้อาหารเป็น High fat diet (HFD) หรือว่าเลียนแบบไลฟ์สไตล์ของการรับประทานอาหาร junk food ซึ่งพบว่า ค่าของน้ำตาล และไขมัน ในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกสูงด้วย และไขมันสูงด้วยจะลดลง และเมื่อดูในเรื่องของตับ พบว่า ในกลุ่มของหนูที่ได้รับไขมันสูงอย่างเดียว จะมีไขมันต่อตับปริมาณสูง ส่วนกลุ่มที่ได้รับไขมันสูง แต่ว่าได้รับโพรไบโอติกด้วยเข้าไปด้วยก็จะเห็นว่า ปริมาณของไขมันที่เกาะตับก็จะลดลง

จากการวิจัย การทานโพรไบโอติกสามารถลดครอเลสเตอรอลอย่างไร

  • ลดระดับน้ำตาล, ไขมัน
  • ลดการสะสมของไขมันที่ตับ
  • ลดการอักเสบ
  • ลดอนุมูลอิสระ เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ

การทดลองโพรไบโอติกในร่างกายมนุษย์ : Probiotics and metabolic effects

ซึ่งอันนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และมีรายงานการวิจัยที่นำมาทดลอบในอาสาสมัครที่ได้รับอาหารที่มีจุลินทรีย์ Probiotics Lactobacillus และ Bifidobacterium อย่างการได้รับนมหมักที่มีองค์ประกอบของโพรไบโอติกอยู่ด้วยเป็นเวลา 45 วัน ซึ่งพบว่า สามารถลดปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ โดยปัจจัยเหล่านี้นำมาสู่โรค Non-communicable diseases (NCDs) ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด Cardiovascular (CVD), โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 Type diabetes mellitus (T2DM) และโรคไขมันพอกตับที่ไม่มีแอลกอฮอล์ Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) ในขณะเดียวกันโพรไบโอติกบางสายพันธุ์ก็สามารถที่จะช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายได้เร็วขึ้น หรือในสภาวะของทางเดินอาหาร การที่มีจุลินทรีย์แบบสมดุลจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง เพราะว่าการอักเสบแบบเรื้อรังก็นำไปสู่การเป็นมะเร็งได้

ใครที่มีความเสี่ยงที่จะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง?

ผู้ที่มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารไขมันในปริมาณสูง หรือรับประทานคอลเลสเตอรอลเกินความจำเป็นต่อร่างกาย ไม่รับประทานผักและผลไม้ ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ของภาวะคอเรสเตอรอลในเลือดสูง และอายุที่มากขึ้น

สาเหตุหลักที่ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายสูง

  •  อาหาร การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลอสูงอย่างในเนื้อสัตว์ เนย อาหารมัน ๆ หากเราทานในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ก็สามารถทำให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) สูงได้ และนำไปสูงการก่อให้เกิดโรคในที่สุด
  •  การสูบบุหรี่ หลายคนอาจจะงงว่า การสูบบุหรี่ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายสูงได้อย่างไร เนื่องจากการสูบบุหรี่จะไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) สูง และคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ลดลง เกิดการสะสมไขมันที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายเเก่เส้นเลือด เเละเพิ่มการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลอีกด้วย
  • การรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮฮลล์อย่างเบียร์ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อคุณดื่มในปริมาณที่มากจนเกินไป ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)” สูงขึ้น นั่นก็หมายความว่า ระดับครอเลสเตอรอลทั้งหมดของคุณก็จเพิ่มตามไปด้วย
  •  โรคอ้วน การมีดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคคอเลสเตอรอลสูง
  • โรคเบาหวาน ในโรคเบาหวานมักจะมีน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ลดลง นอกจากนี้การมีน้ำตาลในเลือดสูง ยังไปทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดง จนทำให้หลอดเลือดแดงเปราะบาง สามารถแตกได้ง่าย และยังทำให้เกิดคราบจับตัวที่ผนังหลอดเลือดแดงอีกด้วย ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบตัน และเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้สารเคมีในร่างกายเปลี่ยนแปลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการที่ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายสูงขึ้น เช่น เมื่อคุณอายุมากขึ้น ตับของคุณจะขจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ได้น้อยลง เป็นต้น
  • ความผิดปกติจากพันธุกรรม ที่อาจทำให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) มากจนเกินไป

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

การที่ร่างกายคนเรามีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคอย่าง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ซึ่งบางคนอาจจะไปตรวจที่โรงพยาบาล และเข้าพบคุณหมอเป็นการปรึกษาเรื่องระดับคอเลสเตอรอลที่สูงจนเกินไป ซึ่งก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายให้สมดุลต่อร่างกายได้ ดังนี้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง และคอเลสเตอรอลสูง สามารถพบได้ในเนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันอิ่มตัว
  • หลีกเลี่ยงการรับระทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ เพราะไขมันทรานส์จะไปเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลให้สูงมากยิ่งขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง โดยการรับประทานอาหารที่เป็นพีช ผักผลไม้อย่างแอปเปิ้ล ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง เป็นต้น สำหรับการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงแบบละลายน้ำได้ดีนั้นจะช่วยดูดซึมคอเลสเตอรอลที่อยู่ในเลือดได้ดี
  • การรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 เพราะกรดไขมันที่มีโอเมก้า 3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ และมีประโยชน์อื่น ๆ ต่อร่างกาย อาหารที่มีโอเมด้า 3 เช่น วอลนัท ปลาแซลมอน เป็นต้น

การงดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์

  • การสูบบุหรี่เป็นการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคปอด จะส่งผลเสียโดยตรงต่อปอด นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเนการสะสมคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน การไหลเวียนของเลือดก็ติดขัด ที่สำคัญการที่สูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่นั้น ยังทำให้ระดับคอเลสเตอรอชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ลดลง และระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) สูงขึ้นด้วย
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ การดื่มแอลกอฮอลล์ในปริมาณที่มากจนเกินไป ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)” สูงขึ้น นั่นก็หมายความว่า ระดับครอเลสเตอรอลทั้งหมดของคุณก็จเพิ่มตามไปด้วย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นมีส่วนช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ได้ อีกทั้งยังลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) อีกด้วย ซึ่งควรจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/วัน หรือ 150 นาที/สัปดาห์

การลดน้ำหนัก

  • การลดน้ำหนักโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะเห็นได้ชัดว่า ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ขึ้นได้ อีกทั้งยังลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) อีกด้วย และมีส่วนช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมในเกณฑ์ แถมก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอย่าง โรคอ้วนด้วย

การใช้ยาเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล

เป็นการยับยั้งเอนไซม์ตัวหนึ่งในร่างกายที่ทำให้เอนไซม์ไม่ทำงาน ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวเกี่ยวกับการสร้างคอเลสเตอรอล ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลลดลง อีกทั้งยังช่วยขับไขมัชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ออกจากร่างกาย โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ในระยะเวลา 2-6 สัปดาห์ สามารถลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ 30-50% เป็นลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหาร หรือยาที่เพิ่มการขนส่งคอเลสเตอรอลออกจากกระแสเลือด

การปรับใช้โพรไบโอติก (Probiotics)

อย่างที่เรารู้กันว่า ตอนนี้โพรไบโอติกมีอยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุกวันอยู่แล้ว แต่การทานโพรไบโอติกก็มีทั้ง โพรไบโอติกที่ดี และโพรไบโอติกที่ไม่ดี ซึ่งเราสามารถดูตามส่วนผสมในอาหารประเภทนั้น ๆ จากฉลากอาหารหรือดูตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยปี 2554 ได้เลยว่า โพรไบดอติกสารพันธุ์ไหนที่อนุมัติให้ใส่อยู่ในอาหารได้ และทานแล้วดีต่อสุขภาพ ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ขับถ่ายง่าย และขจัดของเสียที่ไม่ดีในร่างกายให้เราด้วย

โพรไบโอติก ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างไร

คอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เกลือน้ำดี โปรไบโอติกที่สามารถสร้างน้ำย่อยหรือเอนไซม์ที่สามารถย่อยเกลือน้ำดีได้ ทำให้เกลือน้ำดีที่ถูกย่อยแล้วเป็นเกลือน้ำดีอิสระ (deconjugated bile salt) สามารถถูกขับออกทางอุจจาระได้ดีขึ้น จึงทำให้ร่างกายทดแทนโดยการใช้คอเลสเตอรอลมาสังเคราะห์เป็นเกลือน้ำดีส่งผลให้สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลที่สูงลงได้ นอกจากนี้การที่โพรไบโอติกนำเอาคอเลสเตอรอลไปใช้โดยตรง เพื่อสร้างส่วนประกอบของเซลล์ อย่างเยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ เป็นต้น ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ซึ่งสมมติฐานของกลไกการลดคอเลสเตอรอลโดยโพรไบโอติกส์อาจเกิดจากกลไกการทำงานร่วมกัน ดังนี้

โพรไบโอติกสามารถตรวจจับกับโมเลกุลของคอเลสเตรอล ทำให้มีการลดประสิทธิภาพการทำงานลง โดยการผลิตเอนไซม์ย่อยเกลือน้ำดี (Bile Salt hydrolase, BSH) เอนไซม์นี้จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของกรดนํ้าดีชนิดไกลซีนและทอรีนที่จับกับกรดอะมิโน แตกตัวเป็นเกลือนํ้าดีอิสระ ซึ่งมีความสามารถในการละลายนํ้าตํ่ากว่านํ้าดี ดังนั้นทำให้การดูดซึมได้เพียงเล็กน้อย และสามารถตกตะกอนได้ดี จากนั้นจะถูกขับออกมาทางอุจจาระ ซึ่งจะทำให้ปริมาณของเกลือนํ้าดีที่ใช้ในตับและลำไส้เพื่อย่อยและดูดซึมไขมันในร่างกายลดลงด้วยดังนั้นร่างกายจึงต้องสังเคราะห์นํ้าดีขึ้นใหม่โดยใช้คอเลสเตอรอลจากตับ จึงทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลภายในตับลดลง อีกทั้งปริมาณที่ถูกส่งออกมาตามกระแสเลือดก็ลดลงด้วยเช่นกัน

  เซลล์เมมเบรนของโปรไบโอติกอาจสามารถจับกับคอเลสเตอรอลได้ (cholesterol removal) ส่งผลให้ประมาณคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ซึ่งทาง Asal Ataie-Jafari และคณะ ได้ทำการวิจัยพบว่า โยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกเปรียบเทียบกับโยเกิร์ตธรรมดาที่ไม่มีโพรไบโอติกในอาสาสมัครที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งทำการทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการทดลองสรุปว่า อาสาสมัครที่รับประทานโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติก Lactobacillus acidophilus และ Bifidobacterium lactis มีระดับคอเลาเตอรอลลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่รับประทานโยเกิร์ตแบบธรรมดาที่ไม่มีโพรไบโอติก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ G Kiebling และคณะ ได้ทำการวิจัยการบริโภคผลิตภัณฑ์นมหมักเป็นระยะยาวมากกว่า 6 เดือน ที่มีผลต่อระดับ HDL cholesterol ซึ่งได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครผู้หญิงสุขภาพดี จำนวน 29 คน เป็นระยะเวลา 21 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่รับประทานโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติก  Lactobacillus acidophilus และ Bifidobacterium longum มีระดับคอเลสเตอรอชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) เพิ่มมากขึ้น และในขณะเดียวกันส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ดีขึ้นอีกด้วย

คอเลสเตอรอลอยู่ในร่างกายของเราซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นคอเลสเตอรอชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) และคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) การที่มีระดับคอเลสเตอรอลในปริมาณมวลรวมที่สูง สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ อย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ฯลฯ ดังนั้นเราจึงต้องควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้สมดุลต่อร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค อีกทั้งการควบคุมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกทางเลือกที่สามารถช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลของเราดีขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจต่อการทานโพรไบโอติกเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากมีงานวิจัย และการทดลองที่ได้รับการรองรับเกี่ยวกับการศึกษาโพรไบโอติกที่สำคัญต่อประโยชน์ในร่างกายที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพอย่าง การช่วยลดระดับการลดคอเลสเตอรอลให้สมดุล เป็นต้น

ประโยชน์ของโพรไบโอติก (probiotic)
  • ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล (cholesterol) ฟอสฟอลิพิด (phospolipid) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือดได้ โดย Lactobacillus acidophilus เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะช่วยย่อยสลายคอเลสเตอรอล (choloesterol) และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ผ่านผนังลำไส้ ช่วยให้ขจัดสิ่งที่ดีไม่ดีในร่างกายออกไปได้
  • กรดแล็กทิก (lactic acid) ที่จุลินทรีย์สร้างจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) เช่น Clostridium perfringens, Salmonella เป็นต้น
  • ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
  • ช่วยระบบการทำงานของลำไส้ สามารถลดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากกรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) ผลิตขึ้น จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ทำให้สามารถขับถ่ายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • สามารถผลิตวิตามินต่างๆ เช่น Vitamin B1, Vitamin B2, vitamin B6, Vitamin B12, biotin (vitamin H) nicotinic acid และ folic acid ได้
- Advertisement -spot_img

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisement -spot_img

Latest Recipes

- Advertisement -spot_img

More Recipes Like This

- Advertisement -spot_img