จุลินทรีย์อะไรบ้างที่จัดเป็นโพรไบโอติก ?
ปัจจุบันเราจะสังเกตได้ว่ามีสินค้าหลายชนิดเริ่มขยับขยายรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ดีต่อสุขภาพกันมากขึ้น ตอบรับความต้องการของผู้บริโภคในเวลานี้ที่สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพให้ดีจากภายในสู่ภายนอก โดยเฉพาะเจ้า โพรไบโอติก (Probiotics) ที่เป็นสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆมีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ และยังสามารถหาทานเสริม เข้าไปช่วยปกป้องดูแลร่างกายของเราให้ดีได้จากภายในสู่ภายนอกจริงๆ
โพรไบโอติกส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติก (lactic acid bacteria) โดยเป็นแบคทีเรียชนิดดี มีประโยชน์ ไม่ก่อโรค มีชื่อเสียงจนเราๆคุ้นหูเพราะมีการศึกษากันมาอย่างยาวนาน อันได้แก่ สกุล แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้และได้รับความนิยมนำมาใช้ในอาหารเครื่องดื่มมาก สกุลจุลินทรีย์ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) เป็นกลุ่มของแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน โดยกลุ่มสกุลอื่นๆที่มีการนำมาใช้บ้างเช่นกัน ได้แก่ เอนเทอโรคอคคัส (Enterococcus), สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus), แลคโตคอคคัส (Lactococcus), เพดิโอคอคคัส (Pediococcus) กลุ่มสกุลยีสต์ เช่น แซคคาโรไมเซส โบลาดิไอ (Saccharomyces boulardii) หรือกลุ่มฟังไจ (Fungi) เช่น สกุล ไรโซปัส (Rhizopus) ซึ่งพบได้บ้างในอาหารหมัก โดยกระบวนการสำคัญของเจ้าจุลินทรีย์เหล่านี้คือพวกมันสามารถหมักน้ำตาล แล้วได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นกรด ซึ่งความเป็นกรดที่เกิดจากจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยในเรื่องการถนอมอาหารและป้องกันไม่ให้เชื้อชนิดอื่นๆที่เป็นเชื้อชนิดก่อโรคเติบโตได้ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์ (strain) ก็จะมีคุณสมบัติจำเพาะของตัวเองต่างกันไป โดยขอบเขตของคุณสมบัติที่จะพิจารณาความเป็นโพรไบโอติกหลักๆจะต้องดู 8 เรื่องนี้ค่ะ
1. ความปลอดภัยตามหลักของ GRAS (Generally Recognized as Safe) ที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) หรือตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไทย
2. จุลินทรีย์ต้องไม่ก่อโรคและไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
3. ความทนต่อกรดและน้ำดีในทางเดินอาหาร
4. สามารยึดเกาะเยื่อบุและผนังลำไส้ได้
5. สามารถสร้างสารต่อต้าน ยับยั้ง จุลชีพอื่นๆที่ก่อโรคได้
6. สามารถปรับหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้นได้
7. จุลินทรีย์ทนทานต่อกระบวนการของเทคโนโลยีการผลิต
8. จุลินทรีย์รอดชีวิตระหว่างอยู่ในทางเดินอาหารและระหว่างการจัดเก็บไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการผลิต การขนส่ง หรือในบรรจุภัณฑ์
ซึ่งในขณะนี้มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก 24 สายพันธุ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วให้สามารถใช้ในอาหารได้ โดยต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่คงเหลือไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัวต่ออาหาร 1 กรัม ตลอดอายุการเก็บรักษา (จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2561) ดังนี้ค่ะ
1. บาซิลลัส โคแอกกูแลน Bacillus coagulans
2. บิฟิโดแบคทีเรียม อะโดเลสเซนทิส Bifidibacterium adolescentis
3. บิฟิโดแบคทีเรียม อะนิมอลิส Bifidobacterium animalis
4. บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดัม Bifidobacterium bifidum
5. บิฟิโดแบคทีเรียม เบรเว Bifidobacterium breve
6. บิฟิโดแบคทีเรียม อินฟานทิส Bifidobacterium infantis
7. บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส Bifidobacterium lactis
8. บิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม Bifidobacterium longum
9. บิฟิโดแบคทีเรียม ซูโดลองกัม Bifidobacterium pseudolongum
10. เอ็นเทอโรค็อกคัส ดูแรน Enterococcus durans
11. เอ็นเทอโรค็อกคัส เฟเซียม Enterococcus faecium
12. แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส Lactobacillus acidophilus
13. แล็กโทบาซิลลัส คริสปาทัส Lactobacillus crispatus
14. แล็กโทบาซิลลัส แก็สเซอรี Lactobacillus gasseri
15. แล็กโทบาซิลลัส จอห์นโซนอิ Lactobacillus johnsonii
16. แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ Lactobacillus paracasei
17. แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี Lactobacillus reuteri
18. แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส Lactobacillus rhamnosus
19. แล็กโทบาซิลลัส ซาลิวาเรียส Lactobacillus salivarius
20. แล็กโทบาซิลลัส ซีอี Lactobacillus zeae
21. โพรพิโอนิแบคทีเรียม อะราไบโนซัม Propionibacterium arabinosum
22. สแตปฟิโลคอคคัส ไซน์ยูรี Staphylococcus sciuri
23. แซ็กคาโรไมซีส เซรีวิซิอี สับสปีชีย์ บัวลาดิอิ Saccharomyces cerevisiae subsp. Boulardi
24. Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ 299V
ที่มา: http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/61_Probiotic_Bacteria.pdf
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics
รศ.ดร. มาลัย ทวีโชติภัทร์ https://fb.watch/b4haZyc_IS/
หลักเกณฑ์ที่ตัดสินว่าจุลินทรีย์เป็นโพรไบโอติก
แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์ของจุสินทรีย์ก่อนที่จะมาเป็นโพรไบโอติกส์นั้น เริ่มต้นจากแนวคิดของ Elie Metch-nikoff นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยในปี ค.ศ. 1908 นั้น Metch-nikoff ได้สังเกตว่าประชากร “บัลแกเรีย” มีอายุยืนยาว ประชากรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยมากกว่า 100 ปี ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการบริโภคของชาวบัลแกเรียพบว่า พวกเขานิยมบริโภค “นมหมัก” (นมเปรี้ยว/โยเกิร์ต) ในปริมาณมาก ดังนั้นจึงได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าการที่ชาวบัลแกเรียบริโภคนมหมักเป็นประจำ จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอายุยืนได้ จากการศึกษาของ Metch-nikoff รวมถึงงานวิจัยอีกหลายๆ ชิ้น ที่สนับสนุนความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถสรุปภาพรวมได้ว่า โพรไบโอติกส์ ก็คือ เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภคได้เช่นกัน

เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็น “โพรไบโอติกส์” คือชนิดไหนบ้าง?
โพรไบโอติกส์ เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดี ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อมีจุลินทรีย์อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม บางครั้งเรียกว่า “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต” ช่วยผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ ดังนั้น “โพรไบโอติกส์” จึงช่วยทำให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกาย ซึ่งทางอย.ได้ให้คำนิยามของ “โพรไบโอติกส์” ไว้ดังนี้ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ” โดยกระบวนการสำคัญของจุลินทรีย์เหล่านี้คือสามารถหมักน้ำตาล แล้วได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นกรด ซึ่งความเป็นกรดที่เกิดจากจุลินทรีย์เหล่านี้ จะช่วยในเรื่องการถนอมอาหารและป้องกันไม่ให้เชื้อชนิดอื่นๆ ที่เป็นเชื้อชนิดก่อโรคเติบโตได้ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์ (strain) ก็จะมีคุณสมบัติจำเพาะของตัวเองต่างกันไป โดยขอบเขตของคุณสมบัติที่จะพิจารณาความเป็นโพรไบโอติกส์หลักๆคือ

1. ความปลอดภัยตามหลักของ GRAS (Generally Recognized as Safe) ที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) หรือตามมาตรฐานของานักงานคณะกรรมการอาหารและยาอาหารและยา (อย.) ไทย
2.จุลินทรีย์ต้องไม่ก่อโรคและไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
3.ความทนต่อกรดและน้ำดีในทางเดินอาหาร
4.สามารยึดเกาะเยื่อบุและผนังลำไส้ได้
5.สามารถสร้างสารต่อต้าน ยับยั้ง จุลชีพอื่นๆที่ก่อโรคได้
6.สามารถปรับหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้นได้
7.จุลินทรีย์ทนทานต่อกระบวนการของเทคโนโลยีการผลิต
8.จุลินทรีย์รอดชีวิตระหว่างอยู่ในทางเดินอาหารและระหว่างการจัดเก็บไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการผลิต การขนส่ง หรือในบรรจุภัณฑ์
มีจุลินทรีย์ใดบ้าง ที่จัดอยู่ในกลุ่ม โพรไบโอติกส์ ( Probiotics )
ในปัจจุบัน โพรไบโอติกส์ ( Probiotics ) ที่เราพบเห็นกันได้ในท้องตลาด มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง ( Powders ), รูปแบบแคปซูล ( Capsules ), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว ( Chewable tablets ), รูปแบบสารละลาย ( Solution drops ) หรือรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด ( Vaginal Tablets ) โดย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีวีธีการเก็บรักษาและประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเชื้อที่พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้
เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กลุ่ม Lactobacillus spp. เป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ และ Bifidobacterium spp. เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน เช่น Bifidobacterium longum, Bifidobacterium bifidum, Lactobacillus acidophilus, Bifidobacterium infantis, Lactobacillus casei subsps และ Lactococcus lactis เป็นต้น
ปัจจุบันมีอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เป็นส่วนผสม มีอยู่มากมายหลายอย่างและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ นอกจากนี้ ยังมีอาหารหมักอื่นๆ ที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์ แต่ยังไม่มีการศึกษามากนัก เช่น มิโซะหรือเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น, เทมเป้, กะหล่ำปลีดอง, ขนมปังเปรี้ยว (Sourdough Bread) และแตงกวาดอง



โดยเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย มีอยู่หลายชนิดได้แก่ Lactobacillus, Bifidobacteria, Saccharomyces Boulardii, Streptococcus Thermophilus แต่ไม่ใช่ว่าทุกชนิดจะเป็นโพรไบโอติกส์ หากต้องการบริโภคนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตชนิดที่มี “โพรไบโอติกส์” นั้น ก่อนซื้อต้องอ่านฉลากข้างขวดหรือข้างถ้วย หากพบว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เป็นชนิดที่มีชื่อว่า
- สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)
- แล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ (Lactobacillus delbrueckii)
- แล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)
จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ตธรรมดา ไม่จัดเป็นโพรไบโอติกส์ แต่ถ้าหากข้างๆ ถ้วยโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวระบุว่า มีการผลิตโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่มีชื่อว่า
- ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
- ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)
- แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei)
- แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus)
จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นโพรไบโอติกส์ ที่ให้ประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน โดยโพรไบโอติกส์ จะเป็นเกราะป้องกันด่านแรกที่ช่วยต่อต้านสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกาย ดังนั้น การรับประทานโพรไบโอติกส์ จึงอาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ลดภาวะการย่อยอาหารผิดปกติ เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อ ป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน โรคภูมิแพ้ โรคตับ ไข้หวัด เป็นต้น