จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ กับ คอมบูชา

Must Try

นพรัตน์ สุขสราญฤดี
นพรัตน์ สุขสราญฤดี
พี่บี เจ้าของแบรนด์ ‘Winona วิโนน่า’ แบรนด์ Feminine Care คนไทยที่ทำชื่อเสียงในตลาดโลก คนในวงการจะรู้จัก วิโนน่า ในมุมอีกมุม และทั้งหมดนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าคนทำไม่มี Passion อย่างที่พี่บีมี

Kombucha ชาที่หมักด้วยหัวเชื้อ ยีสต์ และ แบคทีเรียกรดแลคติก

เมื่อทำการหมักแล้วก็จะได้น้ำหมักออกมา ซึ่งจะมีสารที่ถูกหลั่งออกมาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ออกมาบริโภคเพื่อสุขภาพได้ ในปัจจุบันประเทศไทย เริ่มมีกระแสและเป็นที่นิยม Kombucha กันมากขึ้น ซึ่งต่างประเทศนั้น มีการนิยมมานานแล้วในการบริโภค Kombucha 

ชาหมักคอมบูชา (Kombucha) มีโพรไบโอติกส์สูง นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยกำจัดแบคทีเรียชนิดไม่ดีให้ออกไปจากร่างกาย ช่วยปรับสมดุลอาการท้องร่วง ระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติ อาการขับถ่ายผิดปกติลดน้อยลง และ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้และยังสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ด้วย

 จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ กับ คอมบูชา

คอมบูชา (Kombucha) หรือ คอมบูฉะ คือ น้ำชาที่ถูกนำมาหมักจนได้รสเปรี้ยวซ่า อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นเครื่องดื่มที่คนรู้จักคุ้นเคยมานาน มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี มีหลายตำนานที่เล่าขานถึงต้นกำเนิด แต่หนึ่งในตำนานที่เป็นที่รู้จักกันดี คือย้อนกลับไปในสมัยของราชวงศ์ฉิน ราวๆ 221 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวว่า จิ๋นซี ฮ่องเต้ (Qin Shi Huang) เป็นคนแรกที่ทำเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นยาอายุวัฒนะ และด้วยสรรพคุณอันเลื่องลือจึงถูกเรียกขานว่า ‘ชาอมตะ’ ก่อนที่จะกลับมาได้รับความนิยมจากคนยุคใหม่อีกครั้งในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงมีสรรพคุณเช่นเดียวกับชา แต่ยังประกอบด้วยโพรไบโอติกส์ หรือเชื้อจุลินทรีย์ และยีสต์ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียอันตราย และ เชื้อโรคหลายชนิด

Cup of hot tea with dry tea

คอมบูชา เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือมีในปริมาณ 0.5% ซึ่งถือว่าน้อยมาก มีค่ากาเฟอีน 12.4 – 41.6 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งน้อยกว่าค่ากาเฟอีนในกาแฟที่มีถึง 38.6 – 65.2 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ระหว่างการหมักอาจทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงดูเหมือนเครื่องดื่มอัดแก๊ส   ถ้าเห็นคอมบูชาในห้างสรรพสินค้าที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์มา ไม่ควรซื้อ เพราะคอมบูชา จะต้องไม่ผ่านระบบการพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) กระบวนการถนอมอาหาร ที่ต้องใช้ความร้อนเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ เพราะว่าประโยชน์ของคอมบูชาก็มาจากจุลินทรีย์เหล่านี้ ถ้าพาสเจอร์ไรซ์มา จุลินทรีย์จะตาย ทำให้การดื่มคอมบูชาก็จะไร้ความหมายไปได้เลย 

ประโยชน์ของคอมบูชา (Kombucha)

  • เติมจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียกับยีสต์ที่ดี นั่นคือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ให้ร่างกาย
  • คอมบูชาช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้ระบบนิเวศของจุลินทรีย์ในลำไส้เกิดความสมดุล การมีจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้มาก ยิ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้น
  • มีกรดแลคติก (Lactic Acid) ช่วยในการย่อยอาหาร
  • มีกรดอะมิโน (Amino Acid) และกรดนิวคลีอิก (Nucleic Acid) ทำให้ คอมบูชา ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมเซลล์กับเนื้อเยื่อในร่างกาย
  • มีกรดกลูคูโรนิก (Glucuronic Acid) และสาร DSL (D-saccharic acid-1, 4-lactone) ช่วยส่งเสริมให้ตับขับสารพิษ และสารก่อมะเร็งได้
  • ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพราะ คอมบูชา มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ซึ่งจะช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • คอมบูชาออกฤทธิ์กำจัดแบคทีเรีย มีกรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติกเป็นส่วนประกอบหลัก มีคุณสมบัติช่วยกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อแคนดิดาซึ่งเป็นยีสต์ชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อคน
  • คอมบูชาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยป้องกัน หรือยับยั้งความเสียหายของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระอย่างสารโพลีฟีนอล (Polyphenol)

โทษของคอมบูชา (Kombucha)

  • หากดื่มเป็นครั้งแรก ควรเริ่มจากการดื่มในปริมาณน้อย ๆ แล้วสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายก่อนจะดื่มต่อ
  • กระบวนการหมักที่ไม่สะอาด อาจทำให้คอมบูชามีการปนเปื้อนเชื้อโรค
  • เลือกใช้ภาชนะสำหรับการหมักคอมบูชาที่เหมาะสม ไม่ควรใช้ภาชนะเหล็ก หรือเซรามิกเคลือบในการหมักคอมบูชา เพราะอาจทำปฏิกิริยากับกรด และปล่อยสารพิษออกมา แนะนำให้เลือกใช้โหลแก้วจะดีที่สุด ควบคู่ไปกับการใช้ผ้าขาวบางในการปิดฝา แทนฝาสแตนเลส หรือฝาพลาสติก
  • การดื่มชาคอมบูชามากเกินไป หรือดื่มคอมบูชาที่มีการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ อาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร หรือส่งผลต่อตับได้
  • คอมบูชาที่หมักเอง อาจมีรสชาติไม่สม่ำเสมอ ต้องดูแลระยะเวลาการหมักให้เหมาะสม เพราะเวลาหมักที่ไม่พอดีอาจทำให้คอมบูชาเปรี้ยวน้อยไป หรือเปรี้ยวมากเกินไป
  • การหมักคอมบูชาที่ไม่ได้ควบคุมคุณภาพให้ดี อาจทำให้มีจุลินทรีย์ที่ไม่ดีต่อร่างกายปนผสมอยู่ในคอมบูชาได้

ข้อแนะนำสำหรับการดื่มชาหมักคอมบูชา (Kombucha)

  • ควรดื่มก่อน หรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที โดยแบ่งดื่มครั้งละ 100 – 150 มิลลิลิตร วันละ 2 – 3 เวลา ช่วงเช้า และบ่าย หรือช่วงเย็น
  • ชาหมักคอมบูชาเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่น และช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ แต่มีกรดอินทรีย์ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เมื่อรู้สึกมีอาการอ่อนเพลีย ก็สามารถนำมาดื่มได้เลย
  • ชาหมักคอมบูชาเป็น Keto Friendly สำหรับใครที่ทานคีโตอยู่ก็สามารถทานได้ เพราะเป็นน้ำตาลจากธรรมชาติที่มีปริมาณต่ำ และไม่มีไขมัน
  • ไม่แนะนำให้ดื่มสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี
สูตรหมักคอมบูชา (Kombucha)

คอมบูชา เป็นชาหมัก อันประกอบด้วยกระบวนการผลิตที่ต้องแบ่ง Batch ส่วนผสมเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของหัวเชื้อจุลินทรีย์พันธุ์ดี ที่เรียกว่า ‘SCOBY’ (a Symbiotic Colony of Bacteria and Yeast) และส่วนผสมน้ำชา

ส่วนผสม SCOBY

  1. ผลไม้เปรี้ยว 3 กิโลกรัม
  2. น้ำตาล 1 กิโลกรัม
  3. น้ำไม่เกิน 10 ลิตร

วิธีทำ SCOBY

ผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน นำไปหมักไว้ในที่ร่ม 1–2 เดือน จากนั้นกรองกากออกให้เหลือแต่น้ำ แล้วหมักต่ออีก 3–6 เดือน จะได้วุ้น SCOBY ที่คล้ายก้อนเห็ดลอยอยู่บนผิวน้ำหมัก

ส่วนผสมน้ำชา

  1. น้ำชา 4 ลิตร กรองเอาใบชาออก จะใช้ชาดำ หรือชาเขียวก็ได้ หรือใช้ชาที่ชอบได้เลย
  2. น้ำตาล 1 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำชา

ต้มส่วนผสมทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกัน แล้วพักไว้ให้เย็นตัวลง จากนั้นนำก้อน SCOBY ที่ได้จากส่วนแรกตักมาใส่ในโหลที่เป็นส่วนผสมน้ำชา ไม่ต้องปิดฝาแน่น และใช้ผ้าขาวบางปิดฝาเอาไว้เพื่อกันแสง และฝุ่น นำไปหมักไว้ในที่ร่มอย่างน้อย 7–21 วัน

SCOBY จะกินน้ำตาล ผลที่ได้คือ ชาที่มีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู วิตามิน B เอนไซม์ จุลินทรีย์ และกรด คอมบูชาจะมีรสหวานอมเปรี้ยว แต่ถ้าใครไม่ชอบเปรี้ยวมาก ก็อย่าหมักทิ้งไว้นาน เพราะน้ำตาลจะถูกกินไปเรื่อย ๆ พอหมักจนได้ที่แล้วถึงจะเริ่มนำมาดื่มได้ เมื่อใกล้หมดเพียงต้มน้ำชาใหม่ แล้วใส่หัวเชื้อกับน้ำชาอีกนิดหน่อยจากโหลเดิม ก็สามารถหมักต่อเพื่อนำไปดื่มได้เรื่อย ๆ

บทความถัดไป
- Advertisement -spot_img

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisement -spot_img

Latest Recipes

- Advertisement -spot_img

More Recipes Like This

- Advertisement -spot_img