คำนิยามของ’Probiotic’และตลาดProbioticและการเติบโต

Must Try

นพรัตน์ สุขสราญฤดี
พี่บี เจ้าของแบรนด์ ‘Winona วิโนน่า’ แบรนด์ Feminine Care คนไทยที่ทำชื่อเสียงในตลาดโลก คนในวงการจะรู้จัก วิโนน่า ในมุมอีกมุม และทั้งหมดนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าคนทำไม่มี Passion อย่างที่พี่บีมี

คำนิยามของ โพรไบโอติก (Probiotics)

โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ตามความหมายในภาษากรีกจะหมายถึง เพื่อชีวิต หรือส่งเสริมชีวิต “for life” จัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่าง ๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเนื้อเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน 

โพรไบโอติกจะมีอีกตัวที่ ชื่อคล้ายกันคือ  พรีไบโอติก (Prebiotics) แต่จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง พรีไบโอติก คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงและจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก ทำให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น  หรือคือพรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกได้ดียิ่งขึ้น

คำนิยาม ของ โพรไบโอติก (Probiotics) เริ่มต้นจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ได้มีการทบทวนเพื่อกำหนดคำนิยามที่ชัดเจนของโพรไบโอติก ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันและมีการใช้กันทั่วโลก ได้นิยามไว้ว่า

Live microorganisms which when administered in adequate amounts confer a health benefit on the host

หรือ จุลินทรีย์มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ต่อมา สมาคมนานาชาติทางวิทยาศาสตร์สำหรับโปรไบโอติกและพรีไบโอติก หรือ ISAPP ได้ร่วมปรับเปลี่ยนคำนิยาม โดยอิงจากคำนิยามเดิมคือ

Live microorganisms that, when administered in adequate amounts confer a health benefit on the host” 

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ของประเทศไทย ได้อิงตามคำนิยามโพรไบโอติก เช่นเดียวกันว่า “เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ”  จากคำนิยามโพรไบโอติกจะประกอบด้วย 3 ข้อหลัก ตามข้อกำหนดของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย คือ 

  1. ชนิดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะต้องเป็นจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต
  2. ปริมาณที่เพียงพอปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ตามข้อกำหนดของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย ต้องมีไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านตัวต่ออาหาร 1 กรัม ไปจนถึง 10,000 ล้านตัว
  3. มีการทำงานที่เหมาะสม  คือการทำงานที่มีความจำเพาะหรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากจุลินทรีย์สองกลุ่มใหญ่แล้วยังมีอีกส่วนหนึ่งของโพรไบโอติกก็ยังเป็นเชื้อยีสต์ ได้แก่ แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii) เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโพรไบโอติก มีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และบรรเทาอาการปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบทางเดินทางอาหาร

จากการศึกษาพบว่าโพรไบโอติกมีประโยชน์ในการรักษาหรือช่วยบรรเทาความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น

  • โรคระบบทางเดินอาหาร อาการลำไส้แปรปรวน, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ
  • โรคภูมิแพ้ ผื่นผิวหนัง, ภูมิแพ้อากาศ
  • โรคทางอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด, ช่องคลอดแห้งหลังหมดประจำเดือน
  • โรคทางเดินปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ

โพรไบโอติกจัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ Normal Flora  อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย จุลินทรีย์ประจำถิ่นลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้

หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดน้อยลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา มีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายได้ ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง Normal Flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทาน โพรไบโอติก จึงเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดี และรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

ตลาด Probiotics และการเติบโต

มีผลิตภัณฑ์มากมายในท้องตลาดที่ได้นำเอา Probiotics มาใช้ วันนี้เราจึงอยากนำเสนอตลาดของ Probiotics ให้ทุกท่านได้ทราบกัน เพราะมีหลายสถาบันได้มีการมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 เลย ปัจจุบันปี 2022 ก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (ตามภาพด้านล่าง) และส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะนำมาใช้ในคนในสัดส่วนที่สูงมากและบางส่วนได้ใช้ในสัตว์ เพราะว่าตัว Probiotics ก็มีประโยชน์ในสัตว์ด้วยเช่นกัน และในตลาด U.S. ก็เห็นได้ชัดว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอาหารและเครื่องดื่มที่มี Probiotics รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย

ภาพการอธิบายการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 ที่มา : https://www.marketdataforecast.com/market-reports/probiotics-market

 

และปัจจุบันไม่พูดถึงเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด 19 ก็ไม่ได้ เพราะมีการระบาดไปทั่วโลกส่งผลให้มีการนำ Probiotics มาใช้ค่อนข้างสูงเนื่องจากว่าช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าท่านผู้ปกครองต้องมีความกังวลถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อในเด็กอีกด้วย และที่เป็นที่แพร่หลายและเริ่มนิยามมากขึ้นจะนำ Probiotics มาใช้กับ Cosmetic อย่างพวก Skin care เป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เกี่ยวกับในเรื่องของผมหรือมือด้วย แต่ด้วยสถานการณ์โควิด อาจจะมีการลดลงของตลาด Cosmetic ลงบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ดังๆระดับโลกที่หยิบเอา Probiotics มาใช้ใน Skin care

การผลิต Probiotics ต้องดูก่อนเลยว่าเราสนใจอะไร มันอาจจะต้องดูย้อนไปนิดนึงว่าเรามี product ในใจเป็นอะไร เป็นประเภทอะไร เพื่อที่จะได้เลือกสายพันธุ์ของ Probiotics ได้อย่างถูกต้อง เพราะบางสายพันธุ์อาจจะไม่เหมาะกับวิธีการผลิตของ product นั้น ๆ ส่วนสำคัญในเรื่องการผลิตจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการหมัก และเทคโนโลยีปลายน้ำ สิ่งที่เราจะขาดไม่ได้เลยก็คือเรื่องคุณภาพ ซึ่งต้องมาคู่กับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการขึ้นทะเบียนจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์นั้นมากขึ้นอีกด้วย

การผลิต Probiotics อาจจะต้องใช้เป็นแบบหัวเชื้อเป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่ม หรือทำออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงเลยก็ได้ ขั้นตอนในการผลิต

  1. เลือกสายพันธุ์และเตรียมหัวเชื้อ
  2. กระบวนการในการหมัก (กระบวนการต้นน้ำ)
  3. กระบวนการปลายน้ำ มีการแยกเซลล์
  4. มีการทำให้แห้ง และขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น แคปซูล หรืออัดเม็ด

การวิเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ สิ่งที่คนต้องการคือเซลล์ที่มีชีวิตและความเสถียรเพื่อที่จะขายได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพ เรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย และราคาด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรามองหาในการที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ส่วนใหญ่ Probiotics ที่ผลิตในบ้านเราจะเป็นการนำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน ราคาที่นำเข้าจะอยู่ในช่วง 10,000 – 40,000 บาท ดังนั้นแล้วผู้บริโภคสามารถเลือกและตัดสินใจให้เหมาะสมกับราคาและคุณภาพได้เลย

ถ้าพูดถึงเรื่องนวัตกรรม สิ่งที่มองจะมองได้ 2 แบบคือ นวัตกรรมของตัวผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมของการผลิต และในกระบวนการผลิตนั้นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยคือตัวสายพันธุ์ของ Probiotics เพื่อให้ได้ประโยชน์กับการรักษาหรือการใช้งาน ต้องออกแบบอาหารสำหรับการเลี้ยงเชื้อเพื่อให้ได้เซลล์จำนวนมาก รวมถึงความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้คุณภาพไปถึงผู้บริโภคมากที่สุด และตอนนี้ในบ้านเราก็เริ่มที่จะมีการผลิตในสายพันธุ์ไทยได้บ้างแล้ว อีกไม่นานได้ใช้กันอย่างแพร่หลายแน่นอน

ภาพ Probiotics สายพันธุ์ไทย

ที่มา : https://www.123rf.com/photo_138359303_stock-vector-set-of-probiotics-icon-concept-and-label-health-research-symbol-icon-and-badge-cartoon-vector-illust.html

สุดท้ายแล้ว ปัจจัยที่ต้องดูหลักๆ 3 อย่างคือ สายพันธุ์ของ Probiotics การขึ้นผลิต และการขึ้นรูปต่าง ๆ และต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อที่จะผลักดันให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ต้องมรการเตรียมพร้อมของเทคโนโลยี ทดสอบตลาด ให้บริการงานวิจัยต่าง ๆ ในไทยได้มีโรงงานต้นแบบและการให้บริการดังกล่าวแล้ว ผู้บริโภคสามารถพิจารณาและตัดสินใจเลือกบริโภคได้ตามใจชอบเลย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

More Recipes Like This

Exit mobile version