ผลการทดสอบและปริมาณ Probiotics ที่เราควรได้รับต่อวัน

Must Try

นพรัตน์ สุขสราญฤดี
พี่บี เจ้าของแบรนด์ ‘Winona วิโนน่า’ แบรนด์ Feminine Care คนไทยที่ทำชื่อเสียงในตลาดโลก คนในวงการจะรู้จัก วิโนน่า ในมุมอีกมุม และทั้งหมดนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าคนทำไม่มี Passion อย่างที่พี่บีมี

 การทดสอบโพรไบโอติกส์ในหนู ผลการทดสอบ และประยุกต์ใช้

จากการทดลองในหนู ที่ได้มีการให้อาหารที่เป็น fat diet หรือ เลียนแบบ การรับประทานอาหาร Junk food พบว่าค่าของน้ำตาล และ ไขมัน ที่ได้รับโพรไบโอติกส์ด้วยจะลดลง ในกลุ่มที่ได้รับอาหาร ไขมันสูง และ ได้รับโพรไบโอติกส์ไปด้วย มีอัตราที่ไขมันเกาะตับ น้อยกว่า กลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูง อย่างเดียว

(การศึกษาในหนูทดลองที่ได้รับเชื้อ E.coli พบว่าการได้รับโพรไบโอติกส์สายพันธุ์หนึ่ง สามารถเพิ่ม อัตราการมีชีวิตรอดในหนูทดลองโดยที่โพรไบโอติกส์จะผลิตกรดน้ำส้มซึ่งส่งผลให้ค่า pH ในลำไส้เล็กของหนูทดลองต่ำลงร่วมกับการสร้างสารแบคเทอริโอซิน ซึ่งส่งผลให้เกิดการยับยั้งการผลิตสารพิษของเชื้อ E.coli และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ E.coli จากการศึกษาเกี่ยวกับ โพรไบโอติกส์สายพันธุ์ Lactobacillus ต่อการติดเชื้อ Helicobacter pylori ในเยื่อบุกระเพาะอาหารในหนูทดลอง พบว่าสารแบคเทอริโอซินจากเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Lactobacillus ยังสามารถลดการยึดเกาะของเชื้อ Helicobacter pylori ต่อเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารของหนูทดลองได้ นอกจากนี้โพรไบโอติกส์บางชนิดสามารถกระตุ้นการผลิตของดีเฟนซิน ซึ่งสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้)

นักวิจัยได้ทำการทดสอบบิฟิโดแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ที่แยกได้จากอุจจาระของทารกที่กินนมแม่ เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ H. pylori  และพบว่าบิฟิโดแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่ง มีฤทธิ์ยับยั้งในสภาวะทดลองสูงเกือบ 95% และหลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความสามารถของเชื้อชนิดนี้ในการยับยั้งการติดเชื้อในหนู

หลังจากผ่านไป 21 วัน หนูที่ได้รับการบำบัดด้วยโพรไบโอติกส์ มีแผลน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และ จากการทดสอบเพิ่มเติมทำให้เห็นว่าการบำบัดด้วยโพรไบโอติกส์สายพันธุ์นี้ สามารถลดความเสียหายของเนื้อเยื่อในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อ H. pylori ได้บางส่วน และพบว่าการได้รับแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคหรือการเสียชีวิต ทั้งในหนูที่มีสุขภาพดี และ หนูที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การนำไปประยุกต์ใช้

รายงานการวิจัยที่นำมาทดสอบกับอาสาสมัคร ที่ได้รับ อาหาร หรือ นมหมัก ที่มีโพรไบโอติกส์อยู่ด้วย พบว่า ลดปัจจัยหรือโรคที่ทำให้เกิดเมตาบอลิกได้ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ที่จัดทำโดยองค์การอาหาร และ การเกษตร และ องค์การอนามัยโลก ได้นิยามว่า โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณที่เพียงพอ จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และ มีการพิสูจน์แล้วว่าการบริโภคจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เป็นประจำ สามารถป้องกันความผิดปกติหลายอย่าง ซึ่งรวมถึง โรคท้องร่วงและโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับการใช้โพรไบโอติกส์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยนั้นพบว่ามีการใช้มากในกลุ่มสัตว์น้ำ และ สัตว์ปีกผลการใช้โพรไบโอติกส์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นนิยมใช้ทั้งในการเลี้ยง ปลา และ กุ้ง การใช้โพรไบโอติกส์ในสัตว์น้ำนั้น ควรสามารถปรับสภาพสิ่งแวดล้อมภายในบ่อเพาะเลี้ยงให้ดีขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียในกลุ่มแกรมบวกนั้นมี ความสามารถที่จะเปลี่ยนสารอินทรีย์ที่สะสมในบ่อเพาะเลี้ยงเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดการ สะสมของคาร์บอนจากสารอินทรีย์ในบ่อเพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดี และผลจากการใช้โพรไบโอติกส์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรมีจุดประสงค์เพื่อการลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและส่งเสริมการทำงานของลำไส้ การให้โพรไบโอติกส์เสริมร่วมกับอาหารของสุกรทำให้สุกรมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น

การเพิ่มประสิทธภาพการผลิตของปศุสัตว์ โดยการเสริมโพรไบโอติกส์ในอาหาร และ น้ำ เป็นการคาดหวังผลทางอ้อมของการเสริมจุลินทรีย์เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารเกิดสภาวะสมดุล โดยเมื่อประชากรจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเกิดความสมดุลจะส่งผลให้สุขภาพสัตว์ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น

1. เพิ่มประสิทธภาพในการย่อยอาหาร

2. สร้างและช่วยในการดูดซึมสารอาหาร

3. ลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของสัตว์

4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ปริมาณ Probiotics ที่เราควรได้รับต่อวัน  จำเป็นมั้ยที่ต้องทานประจำ

กินโปรโบไอติกตอนไหนดี กินทุกวันเลยได้ไหม ?

โปรไบโอติก หรือ โพรไบโอติก (Probiotics) เป็น แบคทีเรียชนิดดีที่มีชีวิต ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ภายในร่างกายของเราได้ โดยไม่ก่อให้เกิดโรค เราสามารถทานโพรไบโอติกส์ หรือ อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ได้ทุกวัน เพราะร่างกายของเรา คุ้นเคยกับจุลินทรีย์ตัวน้อยเหล่านี้มาตั้งแต่เกิด ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย แถมยังเป็นประโยชน์ เพราะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อชนิดก่อโรคเข้ามายึดเกาะเซลล์ภายในร่างกายของเรา และ กระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานดักจับสิ่งแปลกปลอมได้อย่างเหมาะสมขึ้นด้วย

ตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งของพรีไบโอติก (prebiotic)

แต่เพราะเป็น “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต” นี่แหละค่ะ จึงจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องทานอาหารที่เป็น “พรีไบโอติก (prebiotic)” ควบคู่กันไป ซึ่งอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่มีเส้นใย (ไฟเบอร์; fiber) กากอาหารสูงคือแหล่งของพรีไบโอติกชั้นดีที่จะช่วยให้ทหารตัวน้อยเหล่านี้ได้มีแรงทำงานและเพิ่มจำนวนประชากรเพื่อเอาชนะเชื้อโรคต่างๆ ต่อไปได้

ดังนั้น ถ้าคุณผู้อ่านทานโปรไบโอติกส์ ในรูปแบบของอาหารเสริม ก็ควรทานก่อน หรือ ระหว่างมื้ออาหาร แล้วก็อย่าลืมว่ามื้อนั้น ต้องมีผัก ผลไม้ หรือ อาหารที่มีกากใยสูงด้วยนะคะ ไม่อย่างนั้นที่ทานไปก็อาจจะเสียของ เพราะน้องอาจเสียชีวิตไปก่อน หรือ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะขาดพรีไบโอติกที่เป็นอาหารของเขานั่นเอง ส่วนคุณผู้อ่านท่านใดที่ไม่ได้ทานอาหารเสริมก็ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ อย่างที่บอกเลยว่า ร่างกายของเรานั้นมีเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่อยู่แล้ว เพียงแค่เราทานผักหรือผลไม้ อาหารที่มีกากใยไฟเบอร์อยู่เสมอ หรือทานอาหารที่เป็นแหล่งของโปรไบโอติกโดยตรง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ระบุชัดเจนว่ามีส่วนผสมของจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต หรืออาหารหมักดองเช่น กิมจิ นัตโตะ แตงกวาดอง เพียงแค่นี้ก็ช่วยทั้งดูแล เติมพลัง และเสริมทัพให้กับเจ้าจุลินทรีย์พวกนี้ให้ได้ทำงานดูแลเราต่อไปได้ยาวๆ แล้วค่ะ

Metabolic process of woman on diet. Digestion system, food energy, hormone system flat vector illustration. Healthy eating concept for banner, website design or landing web page

อย่างไรก็ตาม หากต้องการมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีโปรไบโอติกเป็นตัวช่วยในยามที่รู้สึกขับถ่ายไม่ดี มีปัญหาน้องสาวมีกลิ่น ตกขาวผิดปกติ หรือที่กำลังเป็นที่จับตามองของนักวิจัยมาก ๆ ในตอนนี้ คือการทานเพื่อช่วยปรับภูมิคุ้มกันเพื่อลดอาการอักเสบ ก็จำเป็นมาก ๆ เลยค่ะ ที่เราจะต้องไปดูว่าผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังดูหรือใช้อยู่นั้น น้อง ๆ จุลินทรีย์อยู่ในชนิดและสายพันธุ์อะไร (เช่น แลคโตบาซิลัส พาราคาเซอิ Lactobacillus paracasei ผลิตภัณฑ์ก็ควรจะบอกเราได้ชัดเจนแบบนี้เลยค่ะ) มีจำนวนจุลินทรีย์เพียงพอหรือไม่ เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สมาคมวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศสำหรับโปรไบโอติกและพรีไบโอติก (ISAPP) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยเรา ก็มีการกำหนดเอาไว้ด้วยนะคะว่า

จุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ

โดยการทานเพื่อให้ช่วยส่งเสริมสุขภาพนั้น

  • ต้องเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ปลอดภัย ทดสอบกับมนุษย์มาแล้วว่าใช้ได้
  • ยังมีชีวิตอยู่ตลอดอายุการเก็บรักษา และ มีจำนวนมากพอ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัวต่ออาหาร 1 กรัม (106 CFU/g) **

จึงจะทานแล้วมีประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยเพิ่มจำนวนโปรไบโอติกในร่างกายเราได้ค่ะ แต่อย่าลืมกันนะคะ ว่าจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ลดจำนวนลงได้จากพฤติกรรมการกิน การนอน ความเครียดของเราค่ะ เพราะฉะนั้น ต้องดูแลสุขภาพ และ ใส่ใจในเรื่องของอาหารที่ทาน ควบคู่กันไปด้วยอยู่เสมอ ส่วนเรื่องทานแล้วน้องจะรอดจาก น้ำลาย น้ำย่อย น้ำดี ของเราหรือไม่ บอกคุณผู้อ่านตรงนี้ได้เลยว่า ถ้าน้องเป็นสายพันธุ์ที่ดี มีงานวิจัยรองรับ ทดสอบมาแล้ว และยังมีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตรอดตลอดการเก็บรักษาจำนวนมากพอ ตามเกณฑ์ที่ อย. ระบุไว้ สบายใจได้เลยค่ะ น้อง ๆ ยังอยู่รอดปลอดภัย ลงจอดถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน

** ที่มา : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใชจุ้ลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/Law03P339.pdf

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

More Recipes Like This

Exit mobile version