การค้นพบProbiotic

Must Try

นพรัตน์ สุขสราญฤดี
พี่บี เจ้าของแบรนด์ ‘Winona วิโนน่า’ แบรนด์ Feminine Care คนไทยที่ทำชื่อเสียงในตลาดโลก คนในวงการจะรู้จัก วิโนน่า ในมุมอีกมุม และทั้งหมดนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าคนทำไม่มี Passion อย่างที่พี่บีมี

ในปัจจุบันบ้านเรามีอุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลายมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารประเภท Junk Food ขนมหวาน หรืออาหารแช่แข็งที่สะดวกรวดเร็วต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่รู้หรือไม่ว่า อาหารเหล่านี้ส่งผลให้สุขภาพเราแย่ลง ร่างกายทรุดโทรม เหนื่อย ป่วยง่าย รวมไปถึงอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลงไปด้วย ยิ่งเราเจอปัญหาสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทุกคนจึงหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นตามเช่นกัน

โพรไบโอติกคืออะไร ทำไมเราต้องทานเพิ่ม?

                ต้องกล่าวอย่างนี้ก่อนว่า โพรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย หรือเรียกอีกอย่างว่า normal flora ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร ซึ่งหากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้ดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากมีอะไรไปกระทบกับสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย  ก็อาจจะเกิดผลกระทบตามมาได้เช่นกัน

                ทุกคนลองคิดดูว่า หากร่างกายเราได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ร่างกายจะลดจุลินทรีย์ที่มีในร่างกายลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคเข้ามา ก็สามารถทำให้มีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายได้อีกเช่นกัน

                ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการรับจุลินทรีย์ที่มีโพรไบโอติกส์ดี ๆ เข้าไปมากเท่านั้น การตอบสนองต่อร่างกาย และการขับจุลินทรีย์ที่ไม่ดีก็ออกมามากเท่านั้น แถมยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

จุดกำเนิดของ Probiotics

                จริง ๆ แล้ว มีการใช้โปรไบโอติกในอาหารมานานมากกว่า 100 ปี ตั้งแต่ปี 1900 สมัยของ Louis Pasteur นักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส และ Élie Metchnikoff เป็นนักสัตววิทยาชาวรัสเซีย ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมชาวบัลแกเรียถึงมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 100 ปี ท่านก็ไปตามดูว่า ทุกบ้านจะมีอาหารหมักเป็นอาหารที่มีทุกครัวเรือน เลยได้ไปทำการศึกษาดูว่า ในนั้นจะมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่เรียกว่า lactic acid bacteria จึงเป็นการทราบถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และจุลินทรีย์นั้นก็อยู่ในชีวิตประจำวันของเราในรูปของอาหารหมัก

                ต่อมาในปี 1930 ฝั่งของเอเชีย Shirota นายแพทย์ และนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น ผู้คิดค้นและก่อตั้งบริษัทเครื่องดื่มยาคูลท์ เป็นผู้ค้นพบสายพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ออกมา ซึ่งทุกท่านน่าจะคุ้นเคยอยู่แล้ว เพราะเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในยาคูลท์นั่นเอง

                จากนั้นในปี 1965 ในยุโรปเองก็เริ่มมีการนำเข้ามา และได้ตั้งชื่อว่า Probiotics ต่อมาในปี 1980 ได้มีการเปิดตัวโยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของ Probiotics ขึ้นครั้งแรกในยุโรปและในปัจจุบันปี 2001 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้มาทบทวนคำนิยามของคำว่า Probiotics ว่าจริง ๆ แล้วคำนิยามที่ตรงกันคืออะไร เพราะที่ผ่านมามีการใช้คำนิยามที่หลากหลาย และการอ้างถึงจะมีความแตกต่างกัน เช่น เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในสัตว์ หรือว่าเป็นองค์ประกอบนึงของจุลินทรีย์ ดังนั้นทาง FAO และWHO ก็ได้มา Workshop กัน เพื่อจะกำหนดคำนิยามที่ชัดเจน และตรงกัน ซึ่งคำนิยามที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน คือ

“Live microorganisms that  when administered in adequate amounts confer a health benefit on the host”

                ที่แปลว่า “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ” ซึ่งคำนิยามในี้ได้บรรจุอยู่ในเล่มเอกสารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งแต่ปี 2002 ต่อมาในปี 2014 สมาคมนานาชาติทางวิทยาศาสตร์สำหรับโปรไบโอติกและ Prebiotics ( ISAPP ) ได้ทำ Workshop ได้มีการปรับเปลี่ยนคำนิยาม ซึ่งสุดท้ายให้คำนิยามประโยคเดิม เพียงแต่ปรับเปลี่ยนคำสีแดงจากคำว่า that เป็นคำว่า which ดังนี้

“Live microorganisms  which  when administered in adequate amounts confer a health benefit on the host”

นิยามของโพรไบโอติก (Definition of probiotics) 

                จากคำนิยามนี้ เราจะสังเกตเห็นว่า มี 3 อย่างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1. Live microorganisms : ชนิดของจุลินทรีย์ จะต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีชีวิตเราจะต้องดูจุลินทรีย์นั้น ๆ ว่า เป็นชนิดไหนบ้าง

2. Adequate amounts : 10^6-10^9 CFU/g ต้องดูปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้กำหนดไว้ที่ประมาณ 1,000,000,000 ล้านตัว/อาหาร 1 กรัม คือ ปริมาณที่ต่ำที่สุดที่ทางอย. กำหนด ซึ่งจะต้องอยู่ในอาหารเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ

3. Health benefit : function probiotics การจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์นั้น ๆ จะต้องมีการทำงานที่มีความจำเฉพาะ หรือมีการทำงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย

สำหรับทางประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้อิงคำนิยามนี้เช่นเดียวกัน

ชนิดของจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มโพรไบโอติก

                ส่วนใหญ่แล้วจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะจัดอยู่ในกลุ่มของ Lactic acid bacteria โดยเฉพาะ Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่ง 2 ชนิดนี้เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีการศึกษามายาวนานมาก ที่สำคัญมีประโยชน์ และไม่ก่อโรค ส่วนสกุลอื่นจะเป็น Enterococcus, Pediococcus หรือ Lactococcus นอกจานนี้จะเป็นกลุ่มของ Yeasts อย่างเช่น Saccharomyces boulardii ก็มีการใช้บ้าง หรือว่าพวกกลุ่มของ Fungi มีปรากฏบ้างในอาหารหมัก

                หลักใหญ่สำคัญก็คือ สามารถสร้างกรดได้ สามารถหมักน้ำตาลแล้วได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นกรด ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยในการถนอมอาหารได้ด้วย และช่วยป้องกันเชื้อที่จะก่อโรคไม่ให้เจริญเติบโต ถ้าเราเปรียบเทียบระหว่าง สกุล (Genus), ชนิด (Species) และสายพันธุ์ (Strain) จะเห็นว่า ในกลุ่มของ Lactobacillus เป็นกลุ่มที่มีมากที่สุด ที่จะนำมาใช้ในอาหาร และเครื่องดื่ม ตัวสีม่วง จะหมายถึงว่า เป็นกลุ่มที่อยู่ในอย.ของประเทศไทย รองลงมาจะเป็น Bifidobacterium ซึ่งทุกตัวจะปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อของสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้ในอาหารของอย.ประเทศไทย ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มอื่น ๆ ก็จะเป็น Streptococcus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นตัวกลม ๆ  Enterococcus หรือ Bacillus coagulans ซึ่งตัวนี้ก็จะมีการใช้งานในกลุ่มของอุตสาหกรรมโพรไบโอติกที่ใช้ในสัตว์ แต่ในคนก็จะมีใช้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งด้านบนตามรูปเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ส่วนใหญ่แล้วจะนำมาใช้เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติก

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะอยู่ในกลุ่มของแบคทีเรีย กลุ่มกรด Lactic แต่อย่างไรก็ตามจะสามารถเป็นโพรไบโอติกได้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ Criteria ดังต่อไปนี้

1. จะต้องมีความปลอดภัยตามหลักของ GRAS

2. ไม่ก่อโรค และไม่เป็นพิษต่อร่างกาย

3. มีความทนต่อกรด และน้ำดีในทางเดินอาหาร : เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วต้องมีความทนต่อความเป็นกรดที่กระเพาะอาหาร และน้ำดีในลำไส้ด้วย

4. สามารถยึดเกาะเยื่อบุ และผนังลำไส้ : เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะต้องสามารถยึดเกาะอยู่ที่ระบบเยื่อบุของผนังลำไส้ได้ เพื่อสร้างสารออกมาที่ก่อให้เกิดประโยชร์ต่อร่างกาย

5. สามารถสร้างสารต่อต้านจุลชีพ : สามารถสร้างที่ไปยับยั้งจุลชีพอื่น ๆ โดยเฉพาะจุลชีพที่ก่อโรค แต่ด้วยคุณสมบัติของตัวแบคทีเรียเอง ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่สร้างกรดได้ ดังนั้นความปเนกรดจะช่วยป้องกันทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายของเราป้องกันการติดเชื้อได้

6. สามารถปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย : สามารถเข้าไปช่วยปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากมีการตอบสนองที่มากเกินไปก็เข้าไปปรับให้ลดลงมา อย่างเช่น การเกิดภูมิแพ้ ก้เข้าไปปรับให้ลดลงมา หรือว่าภูมิคุ้มกันอาจจะตอบสนองได้ไม่ดี โพรไบโอติกควรจะมีหน้าที่ในการไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองได้ดีขึ้น เพื่อจะให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล

7. ทนทานต่อกระบวนการของเทคโนโลยี : ควรทนทานต่อกระบวนการทางเทคโนโลยีในการผลิต และการทำเป็นผลิตภัณฑ์

8. รอดชีวิตในทางเดินอาหาร และระหว่างการจัดเก็บ : ระหว่างทางการจะนำไปจำหน่าย โพไบโอติกที่ดีควรจะต้องมีการรอดชีวิตอยู่ได้ มีความคงอยู่ของจุลินทรีย์ในการจัดเก็บ

จะเห็นได้ว่า Function of probiotics are strain-specific หรือ หัวใจของโพรไบโอติก คือ สายพันธุ์ (strain) จัดว่าเป็นโพรไบโอติกที่ดีหรือไม่

จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับใช้ในอาหาร 24 สายพันธุ์ ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข 2554

  • ต้องใช้จุลินทรีย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้
  • ต้องมีปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีชีวิตคงเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 10^6 CFU/อาหาร ๑ กรัม ตลอดอายุการรักษา

การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้าย

  • มีผลการประเมินความปลอดภัย และคุณสมบัติการเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกตามหลักการใน Guidelines for the Evaluation of Probiotics in Food, Joint FAO/WHO Working Group Report on Drafting Guidelines for the Evaluation of Probiotics in Food, ปี ค.ศ. 2002
  • ตรวจเอกลักษณ์ของสกุล (genus) ชนิด (species) สายพันธุ์ (strain) 
  • ทดสอบคุณสมบัติการเป็ยจุลินทรีย์โพรไปโอติก in vitro หรือในสัตว์ และการศึกษาในมนุษย์เพื่อประเมินความปลอดภัย

สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งทางอย.ได้มีข้อแนะนำว่า ควรจะใช้สายพันธุ์ที่มีประวัติการใช้ที่มีความปลอดภัย โดนส่วนใหญ่จะเป็น Lactobacillus และ Bifidobacterium ส่วนสายพันธุ์  Enterococcus บางทีต้องระวังในเรื่องของเชื้อในสกุลเดียวกัน จะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะดื้อยา จุลินทรีย์ที่อยู่ในตามข้อกำหนดนี้ก็สามารถจะนำไปใช้ได้ในอาหาร ส่วนจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือในประกาศฉบับนี้ก็จะต้องมีการประเมินความปลอดภัย และต้องมีการทดสอบคุณสมบัติของการเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ดี ต้องมีความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง และประเมินความปลอดภัยในมนุษย์ด้วย

กลไกการออกฤทธิ์ของโปรไบโอติกและประโยชน์ต่อสุขภาพ : ฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ 

คุณสมบัติ และการทำงานของโพรไบโอติกที่สำคัญ

การทำงานของโบรไบโอติกได้มีผู้ให้คำนิยามอธิบายมากมายหลายคณะฯ ตัวอย่าง เช่น Lilly และ Stillwell, (1965), Sperti (1971), Parker (1974), Atterton และ Robbin, (1978), Fuller (1989) และ FAO(2001) แต่ที่อธิบายได้ละเอียดตรงตามลักษณะคุณสมบัติการทำงานของผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกเป็นของ Vanbelle (1990) ที่ได้อธิบายว่า “เป็นแบคทีเรียที่ได้จากท่อทางเดินอาหาร เมื่อให้เข้าสู่ร่างกายโดยการกินในขนาดหรือจำนวนที่เหมาะสม จะยังคุณประโยชน์ให้กับสัตว์ โดยการไปเกาะติดกับผนังท่อทางเดินอาหาร สร้างอาณานิคมเคลือบตามผิวเยื่อบุ ดังนั้นจึงสามารถควบคุมรักษาสภาวะสมดุลเอื้อต่อการขยายแบ่งตัวทวีจำนวนเพิ่มประชากรของจุลินทรีย์พื้นถิ่นในท่อทางเดินอาหารจากวิธีการนี้ จึงเป็นเกราะหรือกลไกป้องกันการเกาะติดของตัวก่อโรค” นอกจากนี้จุลินทรีย์พวกที่เป็นโปรไบโอติกยังมีคุณสมบัติ มีศักยภาพในการสร้างสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายสัตว์ เช่น สร้างไวตามิน ฮอร์โมน สลายแร่ธาตุ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ มันมีหน้าที่หลักในการสร้างน้ำย่อย (Microbial enzymes) ในกระบวนการหมักอาหาร (Food fermentation) เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพในการมนุษย์และสัตว์สามารถใช้อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้อธิบายถึงคำนิยามการทำงานของโปรไบโอติกมาโดยละเอียด คำในภาษาอังกฤษ “Probiotic” นั้น ได้มาจากรากศัพท์ภาษกรีก มีความหมายว่า “For Life” (Pro = For, Bio = Life)

ภาพจำลองของระบบทางเดินอาหาร

              1 ระบบทางเดินอาหารก็จะมีระบบเยื่อบุ ซึ่งจุลินทรีย์ตัวสีฟ้าคือ โพรไบโอติก ถ้าร่างกายของเรามีจุลินทรีย์กลุ่มนี้เยอะ จุลินทรีย์ตัวนี้จะไปยึดเกาะที่ระบบเยื่อบุของทางเดินอาหาร ซึ่งการที่เกาะแบบนี้จะช่วยกีดกันไม่ให้เชื้อก่อโรค คือ ตัวสีแดง เข้ามายึดเกาะที่ระบบเยื่อบุในร่างกายได้ สุดท้ายเชื้อก่อโรคก็จะถูกขับออกไป

              2 สามารถสร้างกรดออกมาได้ ทำให้ทำให้สิ่งแวดล้อมในนั้นมีความเป็นกรด และไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มอื่น เพราะว่า โดยปกติแล้วจุลินทรีย์ธรรมชาติจะมีความเป็นกลาง ๆ ก็คือ เจริญได้ดี ดังนั้นถ้าในร่างกายของเรามีกลุ่มจุลินทรีย์โพไบโอติก หรือว่าจุลินทรีย์กลุ่มที่สร้างกรดได้ก็จะสามารถทำให้ความเป็นกรดด่างลดลงมา

              3 จุลินทรีย์บางสายพันธุ์ก็สามารถสร้างสารต้านจุลชีพอื่นได้ ซึ่งจะช่วยป้องกัน ยับยั้ง หรือทำลายจุลินทรีย์ก่อโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน

              4 การที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกเยอะ ๆ จะช่วยกีดกัน หรือว่าแข่งขันกับจุลินทรีย์ก่อโรคได้ และช่วยควบคุมจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายของเราอยู่แล้ว ตัวนั้นจะคอยฉวยโอกาสก่อโรคถ้าสภาวะของร่างกายเปลี่ยนไป หรือร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะ หรือพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคน ๆ นั้นเปลี่ยนไป

              5 การที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกยึดเกาะ จะสร้างสาร metabolite ที่จะไปมีปฏิกิริยากับ Cell-mediated immune เป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งในทางเดินอาหารจะมีเยอะมาก จะคอยตรวจตราสิ่งแปลกปลอม และตอบสนองจำกัดออกไป ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มดีเราได้รับตั้งแต่เกิดมาแล้วจากแม่ ดังนั้นภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกัน และตอบสนองออกมาให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย

การนำไปประยุกต์ใช้ทางเทคนิคของโพรไบโอติก

                การนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องของโรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือในเรื่องของการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองมากเกินไป หรือการอักเสบ โพรไบโอติกบางสายพันธุ์สามารถที่จะสร้างเอนไซม์บางอย่างออกมา เช่น Bile Salt Hydrolase (BSH) ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้จะคอย Deconjugate Bile Salt ทำให้ถูกขับออกนอกร่างกาย ร่างกายจึงดึงคอเลสเตอรอลมาใช้มากขึ้น สามารถช่วยในการลดคอเลสเตอรอลได้อีกทางหนึ่ง และอีกทางหนึ่งคือ โพรไบโอติกเองสามารถดักจับคอเลสเตอรอลเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง และบางส่วนดักจับแล้วก็ถูกขับออกไป

                จากการทดลองทีมจัยของ รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ หัวหน้าศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก คณะแพทศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการวิจัยในหนูทดลองที่ให้อาหารเป็น High fat diet (HFD) หรือว่าเลียนแบบไลฟ์สไตล์ของการทานอาหาร junk food ซึ่งพบว่า ค่าของน้ำตาล และไขมัน ในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกสูงด้วย และไขมันสูงด้วยจะลดลง และเมื่อดูในเรื่องของตับ พบว่า ในกลุ่มของหนุที่ได้รับไขมันสูงอย่างเดียว จะมีไขมันตับปริมาณสูง ส่วนกลุ่มที่ได้รับไขมันสูง แต่ว่าได้รับโพรไบโอติกด้วยเข้าไปด้วยก็จะเห็นว่า ปริมาณของไขมันที่เกาะตับก็จะลดลง

                ซึ่งอันนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และมีรายงานการวิจัยที่นำมาทดลอบในอาสาสมัครที่ได้รับอาหาร หรืออย่างการได้รับนมหมักที่มีองค์ประกอบของโพรไบโอติกอยู่ด้วย ซึ่งพบว่า สามารถลดปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ โดยปัจจัยเหล่านี้นำมาสู่โรค NCDs ในขณะเดียวกันโพรไบโอติกบางสายพันธุ์ก็สามารถที่จะช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายได้เร็วขึ้น หรือในสภาวะของทางเดินอาหาร การที่มีจุลินทรีย์แบบสมดุลจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง เพราะว่าการอักเสบแบบเรื้อรังก็นำไปสู่การเป็นมะเร็งได้

                สำหรับทางด้านการศึกษาโพรไบโอติก จะต้องคัดเลือกจากสายพันธุ์ที่ดี ดู function จากนั้นมาพัฒนาผลิตภัณฑืใช้ในอาหาร และเครื่องดื่ม และอาจจะมีการทดสอบในกลุ่มประชากรของประเทศเราเอง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

More Recipes Like This

Exit mobile version